--- layout: post title: AMD Athlon 64 X2 Dual-core 3800+ created: 1129268895 categories: - desktop - review ---

   อืม มาดูกับ CPU สายที่สูงที่สุด.. ของ AMD กันครับ เจ้าสายที่น่ากลัวที่สุดอีกสายมันคือ Athlon 64 FX แม้จะเป็น single-core 55 ราคาก็ยังแพงเว่อร์มากก แต่รู้สึกว่าจะเป็นหมดเพียงแค่ปีนี้นะครับ คงเพราะราคา ตลาดที่จะทับซ้อนกับ dual-core ด้วยหล่ะครับ แค่เจ้า dual-core นี่ก็เป็นสายทีไม่ค่อยจะมีใครได้ใช้ มีได้แต่หวังครับ ไม่ใช่ว่าจะหาซื้อกันไม่ได้ แต่ด้วยราคาของมันแล้วมันน่ากลัวจริงๆครับ แค่ตัวต่ำที่สุดราคาก็เกือบๆจะ 2 หมื่นเลยหล่ะครับ ตัวสูงสุดก็ซื้อ com ซื้อ notebook บ้านๆได้อย่างละเครื่องเลยครับ เหอๆ ไม่รู้ว่าจะอะไรขนาดนั้นเน๊อะ แต่กับสาย dual-core แล้วมันคือ

"Welcome to the world of TRUE multi-tasking."

   อืม.. จะเป็นอย่างที่เค้าว่ารึป่าวครับ แล้วเรามาดูกันต่อไปครับ
Spec
    มาดูกันเรื่อง spec ก่อนครับ

   จาก spec ที่เห็นก็จะพอได้อึ้งได้หล่ะครับ มารู้จักกันแต่ละตัวดีกว่าครับ
AMD Athlon 64 X2 dual-core 3800+

   dual-core เป็น CPU 64bit หล่ะครับ ผมก็ไม่แน่ใจจริงๆครับ ว่า 64bit นั้นมันทำได้ดีแค่ไหน เพราะในปัจจุบันผมก็ไม่รู้จะไปหา Win x64 ที่ไหนหล่ะครับ แถม driver ของแต่ละตัว โปรแกรมที่ใช้จริงๆ มันก็ยังสู้ 32bit ไม่ได้ เลยเอามาใช้ที่ 32 bit แต่กลับทำได้ดีสุดๆ ดีกว่า 32bit CPU จริงๆซะอีกหล่ะครับ อีกอย่างก็คือ เจ้าตัว dual-core 3800+ นั้นจะทำงานที่ 2.0GHz เท่านั้นนะครับ แต่.. แต่..อย่าไปคิดเชียวหล่ะครับ ว่าอย่างพวก 32bit อย่าง P4 2.4c GHz, AMD Athlon 2500+ (1.8GHz barton) มันจะเทียบเคียงได้กับสาย 64bit ครับ ความถี่ที่ใช้ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญเหมือนอย่างที่ intel ต้องการให้เราคิดเช่นนั้นอีกแล้วครับ

   จริงๆ dual-core นั้นจะมีอยู่ 2 core นะครับ คือ Manchester อีกตัวซึ่งจะมี L2 cache ตั้ง 1MB*2 หล่ะครับ แต่จะมีเพียงแค่รุ่น 4400+, 4600+ ครับ ราคาก็น่ากลัวสุดๆจริงๆครับ 555

   อีกเรื่องที่ลืมไปไม่ได้เลยครับ สำหรับพวกสาย Athlon64 ทั้งหมด ทำไมมันถึงดี แบบเห็นได้ชัดๆหนะครับ นั่นก็คือการรวม memory controller จากเดิมที่จะอยู่บน northbridge chipset (บน Mainboard) เข้าไปไว้ด้วยกับ CPU เลยทำให้การเชื่อมต่อลดลงครับ ด้วยสถาปัตยกรรมของ K8 คือ ที่เป็น on-die northbrigde, การติดต่อระหว่าง RAM กับ CPU แทนที่จะต้องผ่าน board เพื่อไป northbridge ก่อน ก็กลายเป็นเชื่อมต่อกันโดยตรงกับ RAM แถมยังใช้ประสิทธิภาพได้เต็มที่ขึ้นมากๆหล่ะครับ ต่างจาก intel หล่ะครับ dual-core ของ intel นั้นจะค่อนข้างเหมือนเดิมครับ คือการรวม core ทั้งสองลงบน die เดียวกัน แต่ปัญหาคือ การเชื่อมต่อระหว่าง core ทั้งสองกลับกลายเป็นต้องผ่าน external BUS ซึ่งช้ามากๆครับ ถ้าเทียบกับความเร็วของ CPU จากการทำอย่างนี้ทำให้ AMD นั้นมี memory bandwidth สูงขึ้นกว่าเดิมมากๆครับ กับพวก dual-core เนี่ย 6 GB/s เชียวหล่ะครับ111 น่ากลัวมากๆ จนเรียกได้ว่าถ้าเทียบกับเครื่องซัก 2 ปีที่แล้วก็แค่ 2-3GB/s ก็ดีใจตายแล้วครับ เหอๆ อ้อ.. Athlon 64 ทั้งหมดใช้เพียง PC3200 หรือ DDR400 เท่านั้นนะครับ ซึ่งก็เป็นเพียงแค่มาตรฐานบ้านๆแล้วหล่ะครับ เดี๋ยวนี้ ที่มี DDR2, DDR3 มาใช้ในระบบปกติที่ไม่ใช่พวกการ์ดจอครับ
   สำหรับ dual-core นั้นจุดเด่นที่เค้าอยากจะเสนอก็คือในเรื่องของ multi-tasking ครับ เพราะว่าการที่ใช้ chip 2 ตัว บน die เดียวกันเนี่ยมันก็คล้ายๆกับ Dual-processor หล่ะครับ หลักการเดียวกันแต่ในการใช้งานจริงการวางบน die เดียวมันดีกว่าตรงการเชื่อมต่อหล่ะครับ เพราะว่าไม่ต้องผ่านอะไรเลยทำให้มันเร็ว การเปิด application ทั้งหมดก็จะดีขึ้นครับ เพราะมีการแบ่งงานกันที่ดีหล่ะครับ ปัญหาที่สำคัญของ dual-core ของ AMD คือ การที่ใช้ on-die northbridge นี่แหละครับทำให้มันมีต้นทุนสูงขึ้นด้วย เจ้า dual-core 3800+ นี่ก็เลยเป็นตัวที่มาปิดช่องว่างของ Intel dual-core ที่มีราคาถูกกว่า AMD dual-core อยู่พอสมควรหล่ะครับ
   มาดูกล่องกันดีกว่าครับ ฮ่าๆ ผมว่ากล่อง AMD ชุดใหม่สวยดีครับ ดีกว่าพวก plastic case เยอะเลย ฮ่าๆ

reference : picture form Anandtech.com
ASUS A8N SLI Deluxe
   สำหรับ board nForce4 SLI ตัวสูงกว่านี้ก็จะมีเพียง ASUS A8N SLI Premium ซึ่งจะใช้ heatpipe แทนพัดลมหล่ะครับ นอกนั้นก็ไม่ต่างกันครับ

   สำหรับ board รุ่นใหญ่ๆอย่างนี้ มีของให้เล่นเหลือเฟือจริงๆครับ 2 IDE ตามมาตรฐานหล่ะครับ กับอีก 8 SATA มีให้ใช้กันแบบเต็มบ้านเต็มเมืองครับ แถมยังมีตัวเชื่อม SATA ให้ใช้ HDD นอกเครื่องกันด้วยครับ สะดวกจริงๆครับ ลองมาดูตอนเปิดกล่องกันครับ

   ถ่ายให้ดูกันชัดๆครับ ว่ามันเหลือเฟือจริงๆครับ สาย SATA 8 เส้น, สายแปลงจาก PSU เข้า HDD SATA อีก 3 เส้น, SLI connector, IEEE 1394 connector, 6 port USB 2.0 connector, joystick connector, IDE 2 เส้น, สาย FDD, WinDVD, Manual, driver CD เรียกว่าให้กันแบบเหลือกินเหลือใช้จริงๆครับ

   มาดู board กันครับ เพียบครับ ตรงไหนก็มีแต่ connector เต็มไปหมดด้วยความที่เป็น Dual RAID ทำให้มันต้องมีเยอะอย่างนี้หล่ะครับ แถมยังรองรับ SLI ด้วยก็เลยต้องมี PCI-e 2 slot แต่ก็ต้องดูเจ้ารูปสุดท้ายด้วยนะครับ ถ้าจะใช้ SLI อย่าลืมกลับด้านมันด้วยหล่ะครับ พร้อม SLI connector ครับ
   อ้อ.. แต่เจ้า board ตัวนี้ที่ผมซื้อมาเนี่ย มันยังไม่รู้จักเจ้า dual-core เลยนะครับ ขึ้นเป็น Unknown CPU ไปซะงั้น แต่ ASUS รุ่นใหม่ flash BIOS ใน windows ได้แล้วครับ ด้วยโปรแกรม ASUSupdate ครับ ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยอีกครับ .. อะไรๆเดี๋ยวนี้มันก็สะดวกไปหมดครับ เหลือเพียงแค่ windows XP ของเรายังไม่ driver SATA RAID เลยทำให้ยังต้องใช้ FDD ตอนลง windows 555 (แนะนำให้เลือกเป็น asus.de หรือของเยอรมันนะครับ ประเทศนี้เค้าชอบมี BIOS ใหม่ๆกว่าชาวบ้านตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ;p ไปโหลดมาเองแล้วให้ ASUSupdate flash ให้ก็ได้ครับ)
Dual channel DDR-RAM 1GB
   มาทำความรู้จักกันก่อนครับ ว่าทำไมต้องเป็น Dual อีกแล้ว คือ DDR-RAM มันจะมี bus width แค่ 64 bit หน่ะครับ การทำ Dual channel เสมือนเป็นการทำให้ bus width ของ RAM นั้นมากขึ้น เท่าๆกับ bus width ของ L2 cache ที่เป็น 128bit อยู่แล้วครับ ทำให้ถ่ายโอนข้อมูลได้มากขึ้นในแต่ละ clock ครับ จริงๆก็น่าจะเห็นกันสมัย EDO RAM ครับ แต่สมัยนั้นเป็นแค่ 16bit+16bit เท่านั้นเองครับ 55 ต่างกันโขเลยที่เดียว
   สำหรับ RAM ซื้อมาทั้งค่ายเรือใบอย่าง corsair และ Geil หล่ะครับ ไว้ค่อยมาดูกันว่ามันต่างกันรึป่าวกับราคาถึง 500 บาทที่เสียไปให้ corsair

   จากแค่ที่บอกบน name plate นั้นก็บอกได้แค่ว่า corsair มัน run CL2 ได้ที่ 400MHz DDR หล่ะครับ แต่ Geil กลับทำได้แค่ CL2.5 ที่ 400MHz DDR ครับแต่ศักยภาพจริงๆนั้น ต้องมาดูกันเองครับ ว่ามันจะต่างกันจริงๆรึป่าว เพราะนั้นมันก็แค่ spec ที่มันต้องทำได้ครับ ^_^ แต่ผมชอบ package ของ geil มากกว่าแฮะ 55 ใส่กล่องมาเรียบร้อย พร้อมกับฟองน้ำอย่างเรียบร้อยหล่ะครับ ต่างกับ corsair ที่เป็น plastic case เหมือนกับ Palm รุ่นต่ำ 555 ทั้งที่รุ่นใหญ่ๆต้องเป็นกล่องปกติ อิอิ
Seagate Barracuda 7200.7 120GB RAID 0
   มาทำความรู้จัก RAID ที่จะใช้กันก่อนครับ คือ จะใช้ RAID 0 ครับ RAID หรือ Redundant Array of Independent (or Inexpensive) Disks เป็นการใช้งาน Hard disk ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นหล่ะครับ จริงๆจะทำไว้เพื่อป้องกันโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลหล่ะครับ แต่ใน RAID 0 นั้นเรียกได้ว่าเป็น RAID ไม่ค่อยเต็มตัว เพราะเป็นการทำเพื่อประสิทธิภาพเท่านั้นครับ มาดูรูปกันก่อนครับ

   RAID level 0 - Striped Disk Array without Fault Tolerance มันจะแยกข้อมูลเป็น block ไปเก็บไว้แต่ละ HDD หล่ะครับ ทำให้การเรียกใช้ข้อมูลจะขึ้นกับการอ่านของทั้งสอง HDD พร้อมๆกัน เป็นการทำงานเพื่อประสิทธิภาพจริงๆ แต่ถ้าหากมีข้อมูลเสียซัก block นึงมันก็จะเสียทั้งหมดหล่ะครับ ก็ไม่ต่างกับ HDD ตัวเดียวครับ สำหรับ RAID 0 นั้นจะต้องใช้ HDD อย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไปหล่ะครับ ยิ่งมากก็จะยิ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆครับ
   ส่วน RAID อื่นๆจะเป็น RAID ที่ทำเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล และ/หรือประสิทธิภาพด้วยหล่ะครับ มีตั้งแต่ RAID 1, 2, 3, .. และอีกมากมายหลายแบบหล่ะครับ แต่โดยหลักการแล้วก็จะคล้ายๆกับ RAID 0 และ 1 ครับ
Note : สำหรับเรื่อง RAID อื่นๆ ก็หาดูได้จาก Acnc.com ก็ได้ครับ 55 ไปเอารูปเค้ามาซะขนาดนี้ก็ต้องทำ link ให้หน่อย ฮ่าๆ เห็นรูปเค้าสวยครับ
   สำหรับพวก RAID นั้นจริงๆแล้วแนะนำให้ใช้ Harddisk ยี่ห้อเดียวกัน ขนาดเท่ากัน เร็วเท่ากัน เอาให้มันเหมือนกันทุกอย่างนะครับ เพราะว่าหากใช้ Harddisk ขนาดไม่เท่ากันก็จะกลายเป็นว่าจะอิงกับ Harddisk ตัวเล็กกว่านะครับ ส่วนความเร็วก็จะขึ้นกับตัวที่ช้าที่สุดเพราะก็ต้องรอข้อมูลอยู่ดีครับ
   ในบททดสอบนี้จะใช้ Seagate Barracuda 7200.7 120GB ครับ

   เรียกว่าเป็นรุ่นที่ ok ทีเดียวครับ ที่เลือกเพราะมันประกัน 5 ปีครับ เหอๆ จะเอา Western Digital ก็ไม่ไหว ประกันจะไหวมั้ยเนี่ย สำหรับตัวเดียวโดดๆ ก็ ok แล้วหล่ะครับ แต่เพื่อที่จะให้มันเป็นคอขวดใหญ่ๆหน่อย ก็เลยต้องมาทำเป็น RAID หล่ะครับ สำหรับ Harddisk ถ้ามีงบนะครับ แนะนำให้หาตัวแรงๆเลยครับ เพราะเป็นอีกตัวนึงที่เห็นผลมากๆสำหรับ PC ครับ เพราะในสมัยนี้ Harddisk เป็นคอขวดจริงๆครับ
reference : Seagate.com อยากไปซื้อ Harddisk แนะนำให้ตรวจสอบ model number ให้ดีๆครับ เพราะว่าแค่ 120GB ก็มีกันหลายรุ่นหล่ะครับ ถ้าเป็น SATA ของ seagate อย่าลืม NCQ เท่านั้นนะครับ อยากรู้ว่าคืออะไรแนะนำให้ดูตาม review web com ทั่วไปครับ
Spark Geforce 6600 PCI-e 256MB
   สำหรับตัวนี้ก็คงไม่พูดอะไรมากครับ ก็เป็นตัวปกติในตลาด ไม่ได้ดี ไม่ได้แย่ กลางๆจริงๆครับ เลยไม่มีอะไรจะพูด 555

to the top



เริ่มประกอบ
   การประกอบก็ไม่ได้แตกต่างกับเครื่องทั่วไปเลยหล่ะครับ มีเพียงจุดน่าสนใจอยู่เพียงจุดเดียวจริงๆครับ ในการประกอบเครื่องเท่าที่ผมเห็นครับ คือ heatsink ของ socket939 อืม คราวนี้ใช้ heatsink AMD PIB (Processor In a Box) หล่ะครับ heatsink ของเจ้านี้ผมว่ามันดีกว่า socket A เยอะเลยครับ ไม่ต้องใช้ไขควง ไม่ต้องกลัว core บิ่นอย่าง socket เดิมๆ เพราะว่ามันคลุม heatspreader มาที่ CPU แล้ว แต่แหะๆ ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ เพิ่งคิดออกว่าน่าเขียน เลยเอารูปในคู่มือมาให้ดูละกันครับ 55

   รูปอาจจะไม่ชัดนักครับ แต่ถ้าใครเคยประกอบ intel ตั้งแต่ socket478 นะครับ ถ้าจำไม่ผิดมันก็จะคล้ายๆนี้แต่จะ lock ทั้งสองข้าง เจ้านี้มันจะ lock เหมือนแบบปกติทั่วไปคือต้องไปเกี่ยวไว้ แล้วค่อยมา lock อีกข้างครับ ผมว่า heatsink ใหม่ๆนี่สะดวกกว่าเดิมเยอะเลยครับ สบายย อิอิ
   ส่วนอื่นก็เหมือนปกติครับ ยิ่งสบายมากขึ้นเพราะใช้ SATA โอ้แบบเสียบแล้วเสร็จ ไม่ต้องดูว่า pin1 อยู่ไหนเลยครับ เสียบได้ข้างเดียว 555 เครื่องใหม่ๆนี่ถ้ามีให้ลองประกอบ และมีใจจะเล่นก็ประกอบได้แน่ๆครับ พอประกอบเสร็จก็ได้ตามรูป 55 เก็บๆสายให้ไม่เกะกะนิดนึง แต่ SATA นี่ไม่รู้เกะกะขึ้นรึป่าวนะครับ ไม่รู้จะมัดมันไว้ตรงไหนเลยครับ เพราะว่าเค้าให้สายมายาวไปแล้ว แต่ก็ดีกว่าสายแพร์หน่อยหล่ะครับ

to the top



การใช้งานจริง
   อืม คิดๆอยู่ครับ ว่าจะทำยังไงดี จะให้หาพวก benchmark มามันก็จะปกติๆ ครับ หาได้ทั่วไปจริงๆตาม anandtech.com, tomshardware.com, vr-zone.com หรือที่อื่นๆครับ ก็จะเป็นการพูดรวมๆดีกว่าครับ กับผลทดสอบแบบโปรแกรมที่ใช้กันปกติดีกว่านะครับ ไม่เอาพวก benchmark ดีกว่าครับ เพราะตัวเลขเยอะแค่ไหน? เป็นยังไง? ตัวเลขมันก็แสดงถึงการเปรียบเทียบเท่านั้นหล่ะครับ ดังนั้นหากไม่มีตัวเปรียบเทียบด้วย ตัวเลขนั้นก็ไม่ได้มีค่าอะไรครับ คงจะมีเพียงแค่ memory bandwidth และ HDD read/write rate เท่านั้นหล่ะครับ ที่จะแสดงให้เห็นและเข้าใจกันได้ครับ เพราะว่ามีตัวเลขทางทฤษฎีค้ำคออยู่ครับ

   หลังจากประกอบเสร็จเครื่องที่ได้ก็เอาละครับ Boot มาก็มีให้จัดการเรื่อง RAID ก็ตั้งค่าไปไม่ยากครับ อันนี้ถ้าอยู่กับมืออ่านภาษาอังกฤษได้ก็ทำได้ครับ เพราะกดแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้นจริงๆครับ อย่างว่าหล่ะครับ แค่ RAID 0 เลยไม่มีอะไรครับ พอต่อมาจะลง OS ไม่มีแผ่นอะไรก็ต้อง WinXP service pack 1 หล่ะครับ จัดการ... สรุปว่าก็ปล่อยมันเดินไปอย่างอัตโนมัติครับ ในที่สุดปัญหาก็เกิดขึ้น 555 ไม่มี driver SATA RAID ครับ ในที่สุดก็ต้องใช้แผ่น FDD ซึ่งผมก็ไม่มี FDD ใน set นี้ซะด้วย ด้วยความที่ไม่เห็นประโยชน์ของแผ่น 3.5" อีกต่อไปครับ แหะๆ กลายเป็นต้องไปล้วง 3.5" ในกรุ จนได้มาตัวนึง สภาพดีรึป่าวก็ไม่รู้ ใช้ได้รึป่าวก็ไม่แน่ใจ 555 ก็หลังจากจัดการเจ้าแผ่น driver disk เรียบร้อยก็ผ่านฉลุยครับ ใช้เวลา install Harddisk 240GB (RAID 0) แบบปกติก็ซัดไป 5 นาทีกว่าแล้วครับ และแล้วก็ copy file เข้า Harddisk ทั้งหมดเพียงแค่ 3 นาที จากนั้นก็จัดการต่อในส่วนอื่นรวมแล้วก็ 15 นาทีนิดๆเท่านั้นครับเป็นอันเรียบร้อยโรงเรียน microsoft...
   แต่ไม่จบเท่านี้หล่ะซิครับ ด้วยความที่มันใหม่ ใหม่ซะจน service pack 1 ไม่รู้จักครับ ดังนั้นแนะนำให้ download ทั้ง nForce4 chipset driver มาก่อนเลยครับสำคัญมากๆ และอีกตัวก็คือ Athlon 64 driver ครับ จะทำให้ windows รู้จักมันดีครับ ใครใช้พวก Athlon 64 ก็ไปหาตัว update ใหม่ๆด้วยนะครับ และอีกอย่างคือ.. สิ่งสำคัญของพวก AMD Athlon 64 นั้น คือ windows service pack2 ครับ มันจะรองรับพวกฟังก์ชั่นใหม่ๆของ CPU ได้ดีกว่าครับ สำหรับ dual-core มันก็จำเป็นเพราะจะได้ใช้ multi-processor ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นครับ งานนี้ AMD เค้าแนะนำเองครับ และมันก็ได้มาซึ่งบททดสอบเล่นๆครับ คือผมเคยลงในเครื่องเก่า แล้วจำได้ว่ากว่าจะ update service pack 2 ได้นี่รอกันนานมากๆครับ เลยมาลองจับเวลาดูครับ... เทียบกับอีกเครื่องนะครับ AMD Sempron 2400+@2.2GHz (o/c ครับ) nForce2 Ultra chipset, PC3200 256MB, Seagate barracuda 7200.8 40GB ครับ ก็เป็น spec บ้านๆทั่วไปครับ แต่ผลทดสอบนี่ก็ทำเอาอึ้งได้หล่ะครับ

   เป็นเวลาที่อืม.. อะไรกันเนี่ย ประเด็นสำคัญจริงๆมันคือ Dual RAID จริงๆครับ แถม dual-core มันทำได้ดีถึง 5 เท่า.. เรียกว่าอึ้งกิมกี่ครับ งานนี้..
   ก็พอจะได้รู้ถึงประสิทธิภาพของมันคร่าวๆแล้วหล่ะครับ สิ่งที่น่าสนใจที่สุดยังไม่ถึงครับ เพราะจะเริ่มทดสอบอะไรที่น่าสนใจ และได้ถึงประสิทธิภาพมันที่สุดหล่ะครับ เอาเป็นว่าสิ่งที่คิดออกตอนนี้ โปรแกรมที่โหลดเครื่องโหดๆ ก็มีไม่มากหล่ะครับ ผมจะไม่เอาพวก 3D มาเกี่ยวข้องนะครับ เพราะว่ามันไม่ใช่ประเด็นที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็น dual-core ครับ
Single-tasking test
   จุดด้อยที่สุดของ AMD คือความถี่ครับ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ทำให้เรื่อง encoding/decoding ที่ใช้ clock เข้าช่วยเลยทำให้ intel ชนะอยู่ตลอดครับ มาดูกันว่าคราวนี้ AMD ทำได้ดีรึป่าว แต่ 555 ทำไงดีหล่ะครับ ผมมีแค่ Pentium-M 1.6GHz เท่านั้นจริงๆ ฮ่าๆ คงต้องลองกับเครื่องที่ให้มันศักดิ์เท่ากันซักหน่อย แต่ก็ไม่มีครับ เอาเป็นว่า ลองกับหลายเครื่องที่เป็น AMD ละกันครับ ทดสอบครั้งนี้จะทดสอบแปลงจาก wav ไปเป็น mp3 160kbps ด้วย iTunes นะครับ wave file ขนาด 43:24 นาที 438 MB หล่ะครับ มาดูกันว่าใครจะทำได้แค่ไหน ตอนนี้จะไม่เปิดโปรแกรมอื่นๆทิ้งไว้เลยนะครับ    จากบททดสอบก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่หล่ะครับ ถึงแม้จะเป็น Athlon XP-M แต่ด้วยความเป็น mobile หล่ะครับก็คงสู้ Sempron ตัวเล็กแต่ใจใหญ่ไม่ได้แน่ๆครับ ส่วน dual-core ก็แบบขาดลอยตามคาดครับ
Note : การทดสอบทั้งหมดจะ run ทั้งหมด 3 ครั้งเป็นอย่างน้อยครับ แล้วหาค่าเฉลี่ยครับ ถ้ามันต่างกันมากจะทดสอบ 5 รอบครับ แล้วตัดสูงสุด และต่ำสุด นอกนั้นก็หาค่าเฉลี่ยครับ
multi-tasking test
   มาดูบททดสอบ multi-tasking กันเลยครับ นี่แหละครับ บททดสอบที่สำคัญของ dual-core ครับ ใช้วิธีเดิมๆกับ iTunes ครับ แต่เรามาในแบบ multi-tasking ครับ ไม่มากเท่าไหร่หรอกครับ เปิดโปรแกรมไว้ทั้งหมดตามนี้เลยครับ    ได้ผลการทดสอบดังนี้ครับ..

   รูปของ Dual-core นะครับ ดูจาก taskbar ได้ครับ เปิดไว้เพียบ แถม livescore.com ก็จะ refresh ตัวเองบ่อยๆครับ ส่วน wmv ก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าทำไม capture แล้วไม่ติดหน่ะครับ สงสัยต้องใช้โปรแกรมช่วย ฮ่าๆ แต่ดูได้ชัดๆเลยครับ iTunes แปลงที่ 33x กว่าตลอดหน่ะครับ เห็นแล้วก็อึ้งจริงๆครับ ดูรูปชัดๆ

   มาสรุปให้ดูง่ายๆกันก่อนครับ

   เห็นกันชัดๆเลยครับ ว่าเมื่อมี multi-tasking (ก็ไม่น้อยนะครับ) แล้วก็ตาม Dual-core ยังแทบไม่รู้สึกเลยครับ ประสิทธิภาพที่ได้ระหว่าง single-tasking เรียกว่าแทบไม่ต่างกันเลยครับ ทั้งหนังและทุกอย่างเหมือนสภาพปกติครับ ในขณะที่ตัวอื่นกลับอ่อนแรงลงอย่างเห็นได้ชัดหล่ะครับ อย่าง Athlon XP-M นี่ดูหนังกระตุกหล่ะครับ ส่วน Sempron ก็มีจังหวะกระตุกบ้างไม่มากครับ น่าจะขึ้นกับจังหวะที่ firefox, ie เจอ reload เข้าพอดีหล่ะครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เพราะแค่ CPU นะครับ แต่ยังมีผลของ HDD และรอบๆข้างมาอีกด้วยครับ แต่ก็สามารถแสดงให้เห็นได้ชัดครับ ว่า dual-core ทำได้ดีกว่ามากจริงๆครับ จริงๆน่าจะเปลี่ยน .wmv เป็น divX หรือ Xvid ไม่ก็ h264 น่าจะเห็นชัดกว่าพอสมควรหล่ะครับ แต่จะสงสารเจ้า Athlon XP-M ไปซะเปล่าๆครับ ไว้ค่อยมาลองอะไรหนักๆกับ Dual-core ทีเดียวดีกว่าครับ ถ้ามีเวลา ฮ่าๆ
   หลังจากทดสอบเจ้า encoding mp3 ไป ถึงเวลามาเล่าถึงความรู้สึกที่ใช้เครื่องกันครับ ระหว่างที่ encoding อยู่นั้น การเปิด minimize, maximize window อื่นๆเป็นไปอย่างปกติมากๆครับ มีเพียงแค่ iTunes ที่ minimize แล้วก่อนที่จะเปิดมันขึ้นมาใหม่ต้องกดแล้วรอซัก 1-2 วิมันถึงจะขึ้นมาหล่ะครับ เข้าใจว่าเป็นการตั้ง priority ให้กับการ encode มากกว่าครับ เพราะทุกเครื่องก็จะช้ากว่าเปิดโปรแกรมอื่นทั้งหมดครับ หลังจากทดสอบ mp3 ไปแล้ว ก็เลยคิดว่าน่าจะเอา CM5 มาเล่นครับ เพราะว่าเป็นเกมที่ซื้อมาแล้วต้องเก็บไว้ครับ 55 เนื่องจาก Sempron ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ 55 เวลาเล่นแล้วก็กว่าจะได้ continue เสร็จบางครั้งก็หลับได้เลยครับ น่าจะเป็นเกมเดียวที่สนุกมากแต่ก็หลับตอนเล่นได้เลย ถ้าใครเคยเล่นก็จะเข้าใจครับ เอาเป็นว่าเล่นแล้วคิดถึงสมัย CM2 เลยหล่ะครับ กดแล้วมากดแล้วมา
   แต่พอมาเล่น CM5 กับเจ้า dual-core ปรากฏว่า โอ้โห เหมือนสมัย CM2-3 เลยครับ กดแล้วแถบข้างล่างก็ไม่มีหยุดหล่ะครับ เพิ่มตลอด ไม่ใช่ว่ากดแล้วเสร็จ แต่ก็รอแต่ละครั้งไม่เกิน 5-10 วิแน่ๆครับ ที่สำคัญคือเปิด msn, firefox, ie, photoshop พร้อมเล่นไปด้วยเวลาจะ switch ไปโปรแกรมไหนก็ไม่มี lag ให้เห็นเลยครับ แถมแต่ละโปรแกรมก็ทำงานกันไปเหมือนกับเล่นอยู่ตัวเดียวเลยครับ อะไรจะมีความสุขขนาดนั้นครับ 55 การใช้งานกับ dual-core นี่เรียกได้ว่า soo smooooth.. เลยครับ ถ้าลองแล้วจะติดใจ 555
   ดูผลทดสอบเล็กๆน้อยๆของ RAID 0 กันครับ หลังจากนี้จะทดสอบด้วย SiSoft 2005 SR2 นะครับ ด้วยความที่เข้าใจง่ายสุดครับ เห็นกันชัดๆ และที่สำคัญมีเปรียบเทียบกับ reference อื่นๆครับ อย่างน้อยก็เห็นครับ

   Hard disk ของเรานั้นเป็น SATA150 2xRAID0 7200rpm นะครับ ซึ่งคือตัวล่างสุดครับ คือ มาตราฐานครับ ของเราทำได้ดีกว่าตัวอ้างอิงพอสมควรเลยหล่ะครับ ส่วนตัวที่มี transfer rate 95MB/s นั้นเป็น 10,000rpm นะครับ เรียกได้ว่า Seagate ST3120827AS NCQ ทำได้ดีจริงๆครับ เรียกกว่าเกือบจะเท่ากับตัว 10krpm แล้วครับ จริงๆก็เพราะว่าขนาดด้วยครับ ของเราจะเป็น 120GB ซึ่งจะทำให้มี plate ที่ความจุสูงกว่าครับ นั่นก็คือความหนาแน่นมากกว่าครับ การเคลื่อนที่ที่เท่ากันเลยทำให้มันอ่านได้มากกว่าครับ ;p แต่ยังไงก็ไม่ผิดหวังเท่าไหร่ครับ (จะผิดหวังก็ตรง spec หล่ะครับ 555 แต่ก็นั่นมัน max. transfer rate ที่เหมือนๆกับ P.M.P.O ของลำโพงหล่ะครับ 55)
   ก่อนจะจบกันไป เราต้องมาดูกันครับ ความแตกต่างเล็กน้อยๆของ Corsair และ Geil ครับ ด้วยราคา 500 กว่าบาทแลก Geil เป็น Corsiar คุ้มรึป่าว~???

   ผมจะทดสอบแค่ค่า Default นะครับ ไม่เพิ่ม Vddr, BUS หรือ O/C ใดๆทั้งสิ้นนะครับ เนื่องด้วยจะไม่เห็นความแตกต่างของค่ามาตรฐานจริงๆครับ ผมเริ่มด้วยการปรับค่าให้ได้ดีที่สุดนะครับ โดยที่ run 3Dmark03 ผ่านได้ตลอด 3 รอบครับ

   อืม.. เท่าที่ทำได้อย่างน้อยก็ได้ดีพอ ตาม nameplate หล่ะครับ แล้วมาดูกันครับ ว่าเลขที่ต่างกันแค่นี้หน่ะครับ ผลที่ได้ต่างกันยังไง?? มาดูกันครับ

   ไม่ต้องมีคำบรรยายจริงๆครับ เสียดายที่ SiSoft นั้นไม่ได้มี database nForce4 SLI ครับ แต่ที่ intel ได้มากนั้นก็คือ ใช้ PC2-5300 หรือ DDR2 บัส 677MHz นะครับ ในขณะที่ AMD ใช้เพียงแค่ PC3200 หรือ DDR บัส 400MHz เท่านั้นครับ เท่านี้ก็น่าจะบอกถึง คุณภาพของ memory controller แบบ on-die เป็นอย่างดีครับ ;p ส่วน Geil และ Corsair นั้นพูดกันจริงๆ เวลาใช้งานปกตินั้นแม้จะมี bandwidth ต่างกันแบบเห็นชัดๆ แต่จะไม่เห็นชัดนะครับ ถ้าไม่ได้ใช้อะไรหนักจริงๆ เอาเป็นว่าถ้ามีงบเหลือก็ corsair ไม่ต้องลังเลเลยครับ การที่ใช้ CL ต่ำๆนั้นยังแสดงให้เห็นว่ามีโอกาสที่จะ o/c ขึ้นไปได้สูงขึ้นอีกมากด้วยครับ ^_^ คุณภาพ chip มันต่างกันครับ ฮ่าๆ

to the top



สรุป
AMD Athlon 64 X2 Dual-core 3800+ เป็น CPU ราคาประหยัดที่สุดในตระกูลนี้ครับ แสดงถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจนมากๆครับ ดีกว่าสายอื่น อย่างเห็นได้ชัดจริงๆครับ แม้สาย FX ก็สู้ Dual-core ในเรื่อง multi-tasking ไม่ได้ครับ ทำให้ Dual-core เหมาะกับ server เป็นอย่างมากทีเดียวครับ เพราะจากการใช้งานนั้นแทบหาจังหวะที่ต้องรอไม่ได้เลยครับ กดแล้วมา กดแล้วมาตลอดจริงๆครับ ไม่ว่าจะเปิดโปรแกรมไว้เยอะแค่ไหนก็ตาม แต่จะถามว่าเหมาะสมมั้ยที่จะเอามาใช้ในบ้าน เอามาเล่นเกม ความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่น่าจะเหมาะนะครับ เนื่องด้วยราคาที่แพงเอาเรื่องครับ (แถมหาซื้อไม่ได้ง่ายๆต้องสั่งอีกต่างหาก ตอนที่ผมซื้อหน่ะครับ) น่าจะเอาพวก Athlon 64 venice core ก็น่าจะพอครับ เพราะราคาก็ประมาณ 6พันกว่าบาทถูกกว่าตัวนี้หลายเท่านักครับ แต่ยังไงก็เถอะครับ Dual-core สายนี้ไม่มีผิดหวังจริงๆครับ แม้จะมีค่าตัวสูงไปหน่อย แต่ถ้าคิดจะแลกกับประสิทธิภาพที่ได้มาละก็ก็เหมาะสมแล้วจริงๆกับ

"Welcome to the world of TRUE multi-tasking."

   คงต้องรอบทพิสูจน์กับ Windows x64 เพื่อให้มันแสดงความเป็น 64bit CPU อีกทีหล่ะครับ