---
layout: post
title: 'มาเลือก notebook #2'
created: 1128493397
categories:
- notebook
- article
---
เนื่องด้วยบทความที่แล้วได้พูดถึงเรื่องโดยรวมๆ มุมมองต่างๆไปแล้วครับ เอาเป็นว่าเลือก com ทั้งทีถ้าไม่พูดเรื่องประสิทธิภาพกันแบบอะไร คืออะไร จะให้ไปดูหน้าตาอย่างเดียวแล้ว โอเค ชอบอันนี้ หยิบไปเลยมันก็เกินไปนิดครับ เอาเป็นว่าเรามารู้ว่า spec ที่เค้าเขียนอย่างนู้น อย่างนี้มันคืออะไรครับ อะไรมันจะดีที่สุดสำหรับเรา แล้วถ้าเราจะเอา notebook เพื่อมาทดแทน desktop มันมีเหรอ.. แค่ไหนหล่ะ ถึงจะเรียกได้ว่าพอทดแทนได้..กันครับ
จริงๆที่จะต้องเขียนบทความนี้เพราะว่าต้องมาหา notebook แบบเพื่อประสิทธิภาพเครื่องนึงครับ โดยที่ไม่เหมือนปกติ นั่นก็คือ งบเป็นเรื่องรอง ฮ่าๆ การเลือกเครื่องพวกนี้มันสนุกจริงๆครับ เพราะว่ามันจะได้เครื่องที่เราอยากได้ โดยที่ไม่มีข้อจำกัดครับ ฮ่าๆ แต่ก็นั่นแหละครับ จะให้เลือกเครื่องเป็นแสนก็ใช่เหตุ เลยต้องมาหากันดูว่า เครื่องเป็นแสนมันดีกว่าเครื่อง 6-7 หมื่นมันต่างกันแค่ไหนเชียว นี่แหละครับเป็นที่มาของบทความนี้ เอาเป็นว่า กว่าจะได้ข้อมูลมันก็เหนื่อยพอตัวหล่ะครับ ด้วยความที่ว่า review ที่มันพูดถึงประสิทธิภาพเอากันแบบจับต้องได้ของ notebook มันน้อยครับ ดังนั้นการเปรียบเทียบมันเลยลอยๆ เอากระดาษมาเทียบกัน (รวมน้ำลายคนขายด้วย แฮะ) คราวนี้จะเป็นการหาข้อมูลมาเทียบกันให้เห็นกันครับ
อีกเหตุผลก็คือ เดินๆ ไป se-ed เห็นหนังสือชื่อ เลือกซื้อ notebook อะไรประมาณนี้เลยต้องเข้าไปดูซะหน่อย เปิดๆ มาเจอเรื่อง spec เขียนแบบอารมณ์ว่า
"CPU
สำหรับเรื่อง CPU นะครับ ก็จะมีอยู่หลายประเภทด้วยกันครับ จะเป็นแบบ Pentium 4 หรือ Pentium-M โดย Pentium-M จะดีกว่าในเรื่องการประหยัดพลังงาน แต่ประสิทธิภาพก็จะด้อยกว่า โดยจะมี AMD คอยมาเป็นทางเลือกด้วยอีกทาง แล้วก็บอกๆๆ เรื่องรุ่นมีอะไรบ้าง.... -จบ-"
นี่แหละครับ แค่เรื่อง spec บอกแค่นี้จริงๆ ในทุกๆอย่างตั้งแต่ CPU ยัน CD-ROM drive ฮ่าๆ เจ๋งจริงๆครับ นอกนั้นในเล่มเป็นการใช้ notebook ซะมากกว่า เอาเป็นว่างง -_-' แล้วจริงๆควรจะเปลี่ยนชื่อเล่มมั้ยเนี่ย แหะๆ
ฮ่าๆ พอๆๆ เรื่องคนอื่น เรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าครับ (แหะๆ ถ้าไม่มีเนื้อหาอะไรเยอะหน่อย จะโดนว่ามั้ยเนี่ย 55 ไปกัดเค้าซะ หุหุ) อืม.. ใน notebook เกือบทุกๆรุ่นครับ สิ่งที่มาอย่างแรกมันก็คือ CPU อยู่ดีครับ เอามาโม้กันก่อนหล่ะครับ เจ้าเครื่องนี้มัน CPU อะไร? รันที่เท่าไหร่?? เรามาดูกันครับ ว่ามันมีอะไรบ้าง... แล้วแต่ละอย่างมันคืออะไร
CPU
เอาเป็นว่า CPU ของ notebook ตอนนี้ที่มันโดดเด่นจริงๆ มีแค่ 2 ค่ายครับ แต่ว่าตัวที่น่าจับตามองมาประมาณ 5-6 ปีแล้วก็คือ transmeta ครับ เป็น CPU อีกค่ายที่เน้นในเรื่องการประหยัดพลังงานเท่านั้นครับ 55 ด้วยความที่เน้นแค่จุดนั้นมันเลยทำให้ความเร็วหรือประสิทธิภาพที่ได้ก็ต้องตรงข้ามกันครับ เอาเป็นว่า เรื่องการประหยัดพลังงานกับความเร็วมันจะต่างกันครับ เพราะว่า เมื่อใดที่ต้องการจะให้มันกินกระแสน้อยลงก็คืออารมณ์ที่ว่าจะต้องใส่ R - resistor หรือตัวต้านทานนี่แหละครับ แต่การที่ใส่พวกนี้เข้าไปมันจะให้เกิด delay ขึ้นตามมาด้วยครับ มันก็เป็นที่มาของ Pentium-M 1.6 GHz กับ Pentium 4 1.6GHz ยังไง P4 ก็เร็วกว่าหล่ะครับ เนื่องด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมครับ เรื่องหลักการก็เข้าใจง่ายๆ ก็พอครับ เพราะถ้าลึกไป .. เดี๋ยวผมก็จะงงด้วย 555 แบร่~ แถมไร้ประโยชน์จริงๆครับ สำหรับ User
• Transmeta
• Cyrix
อีกค่ายนึงก็ Cyrix/VIA ค่ายนี้เคยออกมาสู้อยู่ช่วงนึงครับ แล้วก็หายเข้าไปในกลีบเมฆ ด้วยความที่ว่าประสิทธิภาพก็ไม่ดีนัก (แต่ก็ดีกว่า Transmeta อยู่มากอยู่ครับ) และจุดเด่นเรื่องพลังงานก็สู้ transmeta เค้าไม่ได้ครับ เอาเป็นว่า -จบ.. - ฮ่าๆ
• Intel
• AMD
มาถึงค่ายที่ร้อนแรงด้วยชื่อกันครับ Intel ค่ายนี้ใน notebook นั้นแบ่งได้เป็น 2 ส่วนครับ
• ส่วนแรกคือจะใช้ chip ของ desktop ที่ปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานใน notebook มากขึ้น โดยสิ่งที่เพิ่มหรือเปลี่ยนชัดๆก็คือ Speedstep และ package ครับ มีด้วยกัน 5 สายย่อยๆครับ ก็แบ่งคล้ายๆบน desktop ครับ เพราะว่าก็เอาของ desktop มาทำต่อนี่นา
- Mobile Intel Pentium 4 Processor supporting Hyper-Threading Technology
- Mobile Intel Pentium 4 Processor
- Mobile Intel Pentium 4 Processor-M
- Intel Celeron M Processor
- Mobile Intel Celeron Processor
พวกนี้มันก็จะดีจริงๆครับ ในเรื่องประสิทธิภาพครับ แต่ด้วยความที่ performance กับ mobility มันมักจะตรงกันข้ามกันเสมอครับ ถ้า performance สูงมันก็จะทำให้ mobility ต่ำครับ อย่างตัวใหญ่สุดครับ Mobile P4-HT นั้น ผมก็ยังไม่ทราบเลยครับ ว่าค่ายไหนเอามาทำครับ ส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็จะใช้พวก centrino หมดครับ นั่นก็คือ ไม่ใช่พวกนี้เลย.. แต่ก็จะมี notebook แบบ value select ก็จะเลือกใช้ Intel celeron M หล่ะครับ เพราะด้วยราคาที่คุ้มค่าแล้ว ชื่อนี้มีแต่ของถูกครับ celeron ข้อที่ผมว่าด้อยที่สุดของ celeron มันคือ cache ครับ ไม่ใช่ว่าแค่มันน้อยครับ แต่ว่า bus width มันก็น้อยด้วยครับ ซึ่ง spec จุดนี้มันเป็นจุดที่ไม่ได้มีบอกใน brochure อยู่แล้วครับ cache/bus width น้อย มันมีผลอะไรหน่ะเหรอครับ อย่างแรกถ้า L2 cache น้อยหรือไม่มีนั้นจะมีผลต่อโปรแกรมจำพวก business เป็นอย่างมากครับ เนื่องจากโปรแกรมพวกนี้จำเป็นต้องใช้ครับ ถ้าไม่มี L2 cache จะทำให้พวกข้อมูลเล็กน้อยๆจะต้องไปสถิตย์ที่ RAM แทนครับ อย่างว่าครับ RAM ของ notebook นั้นไม่ได้เร็วเลิศเลออะไรอยู่แล้วครับ ความเร็วที่ต่างกันขนาดนั้นทำให้มันส่งผลได้ชัดเมื่อใช้โปรแกรมที่บริโภคทรัพยากรอย่าง Office 2003 ครับ เท่าที่เห็นขนาด L2 cache ก็จะส่งผลเห็นชัดกับเฉพาะพวกโปรแกรมธุรกิจนี่แหละครับ (ซึ่งก็แน่ครับ รวมถึงการใช้งานพวก browser ด้วยครับ) ซึ่งผมค่อนข้างคิดว่ามันเป็นโปรแกรมที่คนที่ใช้ notebook ใช้แน่ๆครับ และเป็นส่วนใหญ่ด้วยซิครับ ส่วน bus width นั้นมันจะส่งผลต่ออัตราการถ่ายโอนข้อมูลครับ นั่นคือไม่เพียงแค่น้อยแต่ก็จะช้าลงด้วย แหะๆ ผมว่าถ้ามีทางเลือกนะครับ พยายามอย่าใช้ celeron เลยครับ ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ มันก็ใช้ได้ในระดับนึง ถ้าเอาต้องการ notebook ไว้เพียงแค่พิมงาน เล่นอะไรเล็กๆน้อยๆ แต่ผมว่าด้วยราคาที่น่าจะต่างกันไม่มากแล้ว เอาอีกระดับก็น่าจะเหมาะสมกว่า (ซึ่งน่าจะพูดได้เพียงแค่ desktop เพราะทาง desktop เค้าเลือก spec อื่นได้ แต่ notebook ถ้า CPU เป็น celeron ก็รับรองได้ว่ารอบข้างไม่มีทางดีแบบมาช่วยให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแน่ๆครับ ;p) แต่ที่ไม่พูดถึงพวก P4 นั้น เพราะว่ารู้ไว้แค่ว่ามันดีครับ แต่ผมว่ามันไม่เหมาะกับ notebook ครับ และเท่าที่ดู Roadmap ของ intel แล้วไม่มี P4 อีกเลยครับ.. นับจากนี้และต่อไป.. เป็นหน้าที่ของ Pentium-M ทั้งหมดครับ
• ส่วนที่สอง คือ chip ที่ทำมาเพื่อ notebook จริงๆครับ นั้นก็คือ Intel Pentium-M processor ครับ โดยจะอยู่ในชุดของ Intel Centrino Mobile Technology ครับ ซึ่งไว้พูดต่อไปครับ เกริ่นไว้ก่อนเล็กน้อยครับ Intel Pentium-M นั้นมันน่าจะเรียกได้ว่าเป็นสายคู่ขนานกับ P4 หล่ะครับ เพียงแค่เน้นกันคนละจุดกันครับ Pentium-M นั้นจะเน้นในเรื่องของ mobility และยังคงต้องการในเรื่อง performance ด้วยครับ โดยจะเห็นได้ว่าจะมี cache เยอะกว่าทาง celeron อยู่มากครับ แถมยังใช้ Front side bus(FSB)ขนาดที่เรียกว่าไม่ต่างกับ P4 หล่ะครับ การทำเช่นนี้ยังส่งผลถึงประสิทธิภาพโดยรวมของระบบครับ เพราะว่าทาง intel นั้นปัจจัยของความเร็วมันจะขึ้นกับ system bus มากๆครับ เพราะว่าทุกอย่างก็ต้องผ่านทางนี้ครับ การทำให้ FSB สูงดังนั้นก็เลยต้องใช้ RAM ใหม่ๆอย่างพวก DDR2 ตามไปด้วยครับมันเลยช่วยทำให้ระบบดีขึ้นไปด้วยครับ
สำหรับ Intel เราต้องมาทำความรู้จักสิ่งสำคัญที่สุดก่อนครับ คือ Intel Centrino mobile technology คืออะไร? มันก็คือ เครื่องหมายการค้าที่รวมเอาสิ่งสำคัญ 3 อย่างเข้าไว้ด้วยกันครับ ต้องมีให้ครบทั้ง 3 อย่างนี้เท่านั้นจึงจะเรียกได้ว่า เป็นเครื่อง Centrino และได้สัญลักษณ์ไปแปะไว้บน notebook ครับ
• Intel Pentium M processor
• Mobile Intel 915 Express chipset family or Intel 855 chipset family
• Intel PRO/Wireless Network Connection Family
ตามนี้เลยครับ หัวใจสำคัญของ centrino คือ Intel Pentium-M นั้นเองครับ และยังต้องกำหนด chipset ด้วยครับ ว่าต้องเป็นแค่ 915 และ 855 ครับ อีกอย่างที่ขาดเสียไม่ได้คือ WiFi ของ Intel เองนั้นเองครับ สำหรับ chipset นั้นเจ้า 915 กับ 855 ต่างกันอยู่พอสมควรเลยครับ ที่ชัดเจนที่สุดก็น่าจะเป็น 3 อย่างต่อไปนี้ครับ คือ
* PCIe devices.
* SATA devices with Advanced Host Controller Interface support.
* Intel HD audio devices. - 192 kHz multi-channel output vs. 96 kHz stereo-channel output
ก็จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะทำให้มันรองรับอะไรได้ดีขึ้นหล่ะครับ เห็นกันจริงๆก็น่าจะเป็น PCI-e ครับ เพราะมันอย่างน้อยก็จะทำให้มันสามารถมีการ์ดจอดีๆกับเค้าได้ครับ แถมอย่างน้อยการ์ดจอเดิมๆก็ดีกว่าอยู่แล้วหล่ะครับ เท่านี้เราก็จะพอรู้จักถึง intel ในส่วนของ notebook เพิ่มขึ้นรวมทั้งแยกออกแน่ๆหล่ะครับ ว่าอะไรคืออะไร ส่วนการเปรียบเทียบของแต่ละรุ่นเอาเป็นว่าผมจะละเอาไว้ครับ เพราะว่ารุ่นที่เลขมากกว่ามันก็ต้องดีกว่าแน่ๆครับ แต่นั้นก็ไม่น่าจะใช่ประเด็นครับ เพราะ notebook ไม่ได้ให้มีเลือกว่าจะเปลี่ยน CPU เป็นตัวไหน หรืออย่างไรครับ แต่กลับเป็นการดู spec จากเครื่องที่เล็งไว้แล้วมาเปรียบเทียบกันครับ ;p
reference: Intel laptop processor product list
ยี่ห้อสุดท้าย ที่น่าจะเรียกว่าเป็นน้องใหม่มาแรงสำหรับวงการ notebook หลังจากที่ Intel เท่านั้นจริงๆครับ สำหรับ notebook มาตลอดหลายปี หลังจากที่ตลาด notebook เริ่มบูมขึ้น AMD ก็ไม่รอช้าออก mobile technology มาบ้างหลังจากที่ทำ CPU มาในรูปแบบของ desktop ลดพลังงานครับ สำหรับ AMD ก็มีอยู่หลายตระกูลเหมือนกันครับ
- AMD Turion 64 mobile technology
- Mobile AMD Athlon^(TM) 64
- AMD Athlon^(TM) 64 for Notebooks
- Mobile AMD Sempron^(TM)
- AMD Athlon XP-M - สายนี้เป็น Athlon XP ของ desktop แล้วเอามาทำ notebook หล่ะครับ แต่ก็เลือกการผลิตไปแล้วครับ
จากที่เห็นนะครับ จะแบ่งได้เป็นสองส่วนเหมือนกับ Intel หล่ะครับ โดยมีเพียงแค่ AMD Turion 64 ตัวเดียวที่ทำมาเพื่อ notebook แบบตั้งแต่เริ่มครับ แต่ต่างกับ centrino ตรงที่ Turion 64 เป็น chip ครับ ไม่ใช่เพียงแค่มาตรฐานครับ เอาเป็นว่าเรามาดูตัวอื่นกันก่อนครับ ค่อยมาว่าถึง Turion 64 ครับ
พวก Mobile AMD Athlon 64 และ AMD Athlon 64 for notebook เป็น CPU 64/32bit หล่ะครับ แต่ความแตกต่างของมันทั้งสองนั้นผมยังไม่เห็นเลยครับ มันน่าจะเป็นสายเดียวกันด้วยซ้ำครับ เพียงแค่ตัว Mobile นั้นจะใหม่กว่าโดยผลิตจะใช้เทคโนโลยีระดับ 90nm (ระหว่าง 130nm กับ 90nm มันต่างกันพอสมควรเลยนะครับ เพราะว่าการที่มันต่ำกว่า 100 nm นั้นจะทำให้มีผลของ Quantum เข้ามาด้วยครับ จากเดิมที่มีผลไม่มากนัก มันเลยแทบจะนิ่งกันที่ 90 nm กันนานหน่อยครับ ถ้าตามเทคโนโลยีจะทราบว่าไม่ถึงปีแน่ๆครับ จะต้องมีการพัฒนาให้มีวิธีการผลิตที่เล็กลงเสมอ.. ทั้งลดต้นทุนเวเฟอร์ที่ราคาแสนแพง เพราะจะได้หน่วยต่อแผ่นเพิ่มขึ้น และยังทำให้ใช้พลังงานน้อยลง ความร้อนก็น้อยลงตามไปด้วยครับ) สำหรับ 2 ตัวนี้ผมยังแทบไม่เห็นขายในไทยเลยครับ ...เหอๆ เลยไม่รู้จะพูดไงครับ ฮ่าๆ เอาเป็นว่าผ่านไปเถอะครับ เพราะพูดไปมันก็หาในไทยไม่ได้ อิอิ
อีกตัวครับก็คือ Mobile AMD Sempron อันนี้เป็น 32bit ตัวเดียวของ AMD ที่ยังเหลืออยู่ในขณะที่ Intel ยังไม่มี 64bit มาลง notebook เลยครับ แม้ว่าการใช้งานปัจจุบันจะเป็นแค่ 32bit ไม่จำเป็นนักก็ตามครับ สำหรับ Mobile Sempron ผมเห็นแค่ Atec นะครับ ที่มีเพราะตัวอื่นผมก็ยังไม่เห็นเหมือนกัน ฮ่าๆ แต่ Sempron นี่ก็แปลกครับ จะมี chip 2 รุ่นด้วยคือรุ่นปกติ คือเอาไว้ notebook ขนาดปกติครับ และก็ chip เล็กสำหรับ notebook เล็กและบางๆครับ ซึ่งตัวหลังก็ต้องเหมาะกว่าเห็นครับ ด้วยความที่ใช้พลังงานน้อยกว่าอีกตัวเกินครึงครับ (62W สำหรับตัวใหญ่ 25W สำหรับตัวเล็ก) เอาเป็นว่าตัวนี้ราคาใช้ได้ในประสิทธิภาพที่ ok เลยทีเดียวครับ แม้ว่าตัวนี้จะอยู่ระดับเดียวกับ Celeron-M แต่ด้วยราคาที่ดูจาก Atec ผมว่าน่าจะหา centrino ได้เลยทีเดียวครับ ในระดับราคานี้และผมก็ว่า centrino น่าสนกว่ามากครับ
มาถึงตัวชูโรงของ AMD ในตอนนี้ครับ AMD Turion 64 Mobile Technology ครับ ตัวนี้น่าจะเป็นตัวที่เอาไว้เป็นตัวหลักพร้อมชนกับ centrino ที่ชื่อติดมานานแล้วหล่ะครับ เหลือเพียงแค่ว่าทำได้ดีแค่ไหน ทั้งการตลาดและประสิทธิภาพครับ สำหรับ Turion64 มันดียังไงครับ มาดูกันครับ
• Bandwidth ของ Turion 64 จะสูงมากครับเพราะว่าตามสูตรสาย K8 ครับ on-die memory controller ครับ ทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง CPU <-> RAM นั้นมีความเร็วสูงกว่าทั่วไปครับ มี latency ต่ำครับ แถม memory controller ตัวนี้ยังรองรับ RAM ได้หลากหลายจริงครับตั้งแต่ PC3200, PC2700, PC2100, PC1600 DDR SDRAM เลยทีเดียวครับ (แต่ก็นะครับ ถ้าใส่ผสมกันมันก็ตามตัวช้านะครับ ดังนั้นใส่เร็วก็ดีกว่าอยู่แล้ว)
• รองรับมันทั้ง 32, 64 bit ครับ อันนี้คงจะเห็นเมื่อ software 64bit ออกมาเยอะๆหล่ะครับ
• HyperTransport technology ครับ อันนี้ก็ตามสาย K8 ตามเคยครับ เทคโนโลยีนี้จะมาช่วยลดคอขวดที่เกิดขึ้นในการติดต่ออุปกรณ์อื่นๆกับ CPU ได้ดีทีเดียวครับ
• ประหยัดพลังงานมากครับ นั่นไม่เพียงแค่เพราะว่ามี PowerNow (ซึ่งก็ไม่ต่างกับ SpeedStep ครับ) แต่ยังมี state เพิ่มอีกครับ คือ C3 Deeper Sleep state เป็น state ของ idle time ครับ ทำให้ประหยัดกว่ารุ่นอื่นๆที่ spec เท่าๆกันครับ
• ทำมาเพื่อ notebook จริงๆครับ นั่นคืออยู่ใน package uPGA เล็กจริงๆครับ จนทำให้มันสามารถใส่ใน notebook บางๆเล็กๆได้ทั้งหมดครับ ช่วยให้การออกแบบ notebook ดีขึ้นครับ
สำหรับ Turion นั้นจะมีสองสายครับ คือ ML-xx และ MT-xx ครับ ตัว MT เท่านั้นนะครับ ที่จะเป็นทางเลือกครับ เพราะว่า MT นั้นจะเหมาะกับ notebook มากกว่านั่นก็คือประหยัดพลังงานกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกันครับ (แหะๆ มันก็แน่หล่ะ สำหรับ ML ถ้ามันก็ดีกว่าก็แค่เรื่องประสิทธิภาพเพราะกินไฟมากกว่าหล่ะครับ ซึ่งไม่คุ้มกับ notebook เลยครับ ในความเห็นผมนะครับ)
reference: AMD Product Information
จบกันแค่นี้ดีกว่าครับ สำหรับ CPU เพราะนี้คือการทำความรู้จักมันครับ ไว้ค่อยมาสรุปกันอีกรอบครับ ตอนนี้อย่างน้อยเมื่อเราเห็นตาม brochure หรือเจอตัวจริงก็จะพอเห็นภาพครับ ว่า CPU ที่ใช้ของ notebook ตัวนั้นๆอยู่ตรงไหนครับ แค่นี้หล่ะครับ ที่ต้องการ ^_^
RAM & Chipset
เราจะมาทำความรู้จักคร่าวๆ พอครับ เพราะว่า notebook ส่วนใหญ่ก็แทบจะถูกกำหนด spec กันมาหมดแล้วครับ อย่างน้อยที่เราก็ควรจะรู้ คือ เราใช้ RAM ประเภทไหน เครื่องเรารองรับอะไรบ้าง เผื่อไว้สำหรับเพิ่มเติมครับ
สำหรับในปัจจุบันก็มี RAM แค่ 2 ชนิดครับ ที่ใช้เป็น main memory ครับ นั่นก็คือ DDR SDRAM และ DDR2 SDRAM ครับ ส่วน SDRAM นั้นผมว่าสำหรับ notebook รุ่นใหม่ๆคงจะไม่มีแล้วครับ เอาเป็นว่าเราจะทำความรู้จักเฉพาะรุ่นที่มีขายในตลาดนะครับจะมีดังนี้ครับ
PC1600 - ผมจะใช้ชื่อมาตรฐานนะครับ ซึ่งถ้าเห็นกันในพันธุ์ทิพย์ก็จะเป็น DDR200 ครับ RAM ตัวนี้จะทำงานที่ 100 MHz ครับ แต่จะเป็น DDR ครับ เลยทำให้ผลที่ได้เหมือนเป็นการทำงานที่ 200MHz ครับ
PC2100 - สำหรับตัวนี้ก็จะทำงานที่ 133 MHz ครับ หรือ 266 MHz DDR ครับ
PC2700 - ทำงานที่ 166 MHz หรือ 333 MHz DDR ครับ
PC3200 - ทำงานที่ 200 MHz หรือ 400 MHz DDR ครับ
PC2 4700 - สำหรับตัวนี้เป็น DDR2 ครับ จะทำงานที่ 266 MHz หรือ 533 MHz DDR ครับ
PC2 5300 - DDR2 เช่นกันครับ จะทำงานที่ 333 MHz หรือ 667 MHz DDR ครับ
ซึ่ง module ของ RAM สำหรับ notebook นั้นจะเป็น SO-DIMM หรือ Small Outline Dual Inline Memory Module โดยจะมีขนาดเล็กว่า RAM ปกติที่เป็น DIMM ครับ น่าจะเรียกได้ว่าขนาดไม่ถึงครึ่งของตัว DIMM ครับ ถ้าวัดกันที่ประสิทธิภาพของ RAM ล้วนๆแล้วยังไงเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าก็จะดีกว่าเสมอครับ แต่... ปัญหาคือมันไม่ได้อยู่แค่ที่ RAM ครับ สิ่งสำคัญยังอยู่ที่ chipset บน board ที่ทำการเชื่อมต่อกับ RAM ด้วยครับ ดูกันที่ chipset กันดูครับ
เริ่มกันที่ Intel ครับ ผมจะแนะนำเพียงแค่ chipset 2 ตัวที่เป็นมาตรฐาน Centrino นะครับ เพราะว่าในตลาดส่วนใหญ่ก็ centrino ทั้งนั้นครับ ตัวอื่นนั้นก็ประปรายมากๆครับ
• Mobile Intel 915 Express chipset family - สำหรับตัวนี้อีกชื่อก็ Sonoma ครับ ถ้าใครเคยเห็นชื่อนี้ก็ใช่เลยครับ ชื่อ chipset ครับ ไม่ใช่ CPU ^_^" (แหะๆ เห็นบางร้านเค้าคงงงๆมั้งครับ) เป็น chipset ที่น่าจะเรียกได้ว่าดีที่สุดสำหรับ Intel ครับ เพราะจากเดิม system BUS ของ intel นั้นจะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพโดยรวมของระบบครับ เลยทำให้ intel ทำ sonoma ขึ้นมาครับ เพื่อให้รองรับกับระบบ dual-channel DDR2 (533MHz) ทำให้ Bandwidth ของ BUS เพิ่มขึ้นพอสมควรเลยครับ เรียกว่าเป็นที่น่าสนใจมากๆครับ ประสิทธิภาพที่ได้เพิ่มจากเดิมพอสมควรครับ การ์ดจอก็จะเปลี่ยนจาก AGP เป็น PCI Express*16 ครับ ซึ่งจะมี Intel GMA 900 เป็น IGP ส่วน southbridge ก็จะเป็น ICH6-M ครับ ซึ่งจะรองรับ SATA, PCI Express, AC97 2.3, GigabitLAN และ USB port เพิ่มมากกว่าเดิมครับ
• Intel 855 chipset family - สำหรับ chipset ตัวนี้ก็เป็นธรรมดาไม่ได้มีอะไรพิเศษครับ รองรับ DDR มี intel IGP และเจ้า ICH4-M ก็รองรับมาตรฐานทั่วๆไปทั้งหมดครับทั้ง IDE, LAN, USB, wifi ครับ
มาทาง AMD จะไม่มี chipset ยี่ห้อตัวเองนะครับ ทำให้ต้องมีพระเอกอย่าง ATi มาช่วยทำ chipset ให้ครับ ดังจะเห็นได้ว่า AMD platform มักจะมากับการ์ดจอ ATi ครับ คงต้องรอให้ nVidia มาร่วมวงด้วย น่าจะได้เห็นอะไรดีๆเพิ่มขึ้นอีกครับ สำหรับ AMD พวก 64 bit ทั้งหลายจะมี memory controller เป็นแบบ on-die โดยจะรองรับ PC1600 ไปถึง PC3200 ครับ เรียกว่าใช้อะไรก็ได้ครับ ผสมก็ได้ครับ (แต่จะยึดความเร็วตามตัวต่ำนะครับ) เรียกว่ายืดหยุ่นมากสำหรับการ upgrade รุ่นครับ ถึงแม้จะใช้ RAM ต่ำกว่าทาง sonoma แต่ประสิทธิภาพกลับเรียกได้ว่าเท่าๆกันเลยครับ.. ส่วน southbrige ก็จะมีของทาง ALi และ ATi ครับ ตามแต่รุ่นครับ... โดยทาง AMD นี้จะต้องใช้ WiFi ของ Atheros เป็นขาประจำครับ
Graphic card
สำหรับในเรื่องของ card จอนั้นเป็นสิ่งที่น่าจะทำให้สับสนพอสมควรครับ เนื่องด้วยการ์ดจอของ notebook ไม่เหมือนใน PC ซะทีเดียวครับ ถึงจะมีรุ่นคล้ายๆกันครับ จะแบ่งได้เป็นอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆครับ แต่สำหรับ notebook แล้วนั้นเรื่องการ benchmark เพื่อวัดประสิทธิภาพของ card จอนั้นแทบไม่มีครับ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ครับ แต่เนื่องด้วยความแตกต่างของสถาปัตยกรรมของทั้งชุดครับ ทำให้ประสิทธิภาพก็ไม่ได้มากมายเหมือนใน desktop ครับเลยจะเป็นการเทียบ spec ให้เห็นครับ อืม.. เริ่มกันเลยดีกว่าครับ
2 ส่วนใหญ่ๆ นั้นจริงๆน่าจะเป็นส่วนเล็กกับส่วนใหญ่ครับ ซึ่งก็คือ Integrated และ Dedicated Graphic card ครับ มันก็เหมือนการ์ดจอ onboard กับแบบแยกใน desktop ครับ อย่างที่ว่าครับ ประสิทธิภาพก็แน่นอนอยู่แล้วครับ แต่..ปัญหาคือทั้งสองอย่างนี้จะอยู่ในเครื่องที่ต่างกันพอสมควรเลยครับ
• Integrated Graphic card - เป็นการ์ดจอที่รวมอยู่ใน northbridge chipset บน board เลยครับ ซึ่งจะทำให้ไม่มี memory เป็นของตัวเองครับ จะต้อง share memory จากระบบครับ ซึ่งการทำตามนี้ก็จะทำให้ไปแย่ง bandwidth ของระบบไปด้วยครับ อย่างไรก็ดี Integrated Graphic card นี่ก็ดีตรงที่ประหยัดพลังงาน แถมยังมีความร้อนน้อยด้วยครับ ทำให้เรียกได้ว่าเหมาะสมมากครับ สำหรับ notebook สำหรับคนที่ไม่คิดจะเล่นเกมครับ ;p
• Dedicated Graphic card - สำหรับการ์ดจอประเภทนี้นั้นเป็นการ์ดจอที่แยกจาก mainboard เลยครับ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมี memory แยกเป็นของตัวเองครับ โดยจะมี GPU ที่ค่อนข้างทรงพลังกว่าแบบ integrated พอสมควรครับ เหมาะกับการเล่นเกมมากครับ แต่ด้วยความที่ประสิทธิภาพสูงก็ทำให้มีทั้งความร้อนและการใช้พลังงานสูงขึ้นไปเป็นเงาตามตัวครับ ดังนั้นเครื่องที่จะมี GPU พวกนี้ก็จะไม่เล็กแน่นอนครับ
สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะมาทำความรู้จักรุ่นต่างๆของ GPU แต่ละตัวกัน ก็คือ spec บางอย่างครับ
DirectX Level: อันนี้ก็เป็นมาตรฐานของทาง microsoft เค้าครับ เป็นสิ่งที่บอกถึงระดับของ hardware ของ GPU ว่าจะมีฟังก์ชันอะไรบ้าง รองรับฟังก์ชั่นต่างๆได้แค่ไหนครับ สำหรับใน notebook นั้นต่ำสุดก็จะเป็น DirectX 7 หล่ะครับ ส่วนใหม่สุดตอนนี้ก็จะเป็น DirectX9c ครับ โดยเกมทั่วไปก็รองรับตั้งแต่ DirectX 7 หล่ะครับ แต่ก็จะมีพวก feature ที่ออกแบบสำหรับเครื่องที่เป็น directX สูงขึ้นไปด้วยครับ นั่นก็คือมันก็จะสวยขึ้น ดีขึ้นครับ อิอ
Pipelines: สำหรับจำนวนของ pipelines นั้นจะบอกถึงประสิทธิภาพของ GPU ครับ โดยจะอ้างไปถึงจำนวนของ pixel สำหรับ shader ในแต่ละ cycle ครับ ซึ่งยิ่งมากก็ยิ่งดีครับ งานนี้ ถ้าสำหรับเล่นเกมก็ควรจะเป็น 4 pipelines เป็นอย่างน้อยครับ
Memory Configurations (size / bus width): อันนี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากครับ ยังไงมากก็ดีกว่าครับ งานนี้ทั้งสำหรับขนาดของ memory และ bus width ครับ ส่วนความหมายของ bus width นั้นก็จะบอกเราถึงความกว้างของ bandwidth ที่ GPU สามารถเชื่อมต่อกับ memory ครับ ซึ่งถ้ามากก็คือในแต่ละ cycle ก็จะส่งข้อมูลได้มากกว่าครับ โดยจะมีตั้งแต่ 64bit, 128bit ไปถึง 256 bit เลยครับซึ่งถ้าเป็นพวกดึง memory จากระบบก็จะเพียงแค่ 64bit ครับ ส่วนพวก dedicated ก็จะมี bus width เท่ากับ 128bit เป็นมาตรฐานครับ ส่วน memory ก็ควรจะ 64 MB ขึ้นไปสำหรับพวกคอเกมส์ครับ
ด้วยความที่ว่า notebook ส่วนใหญ่ก็ไม่มีโอกาสให้เปลี่ยนพวก graphic card แน่ๆครับ ดังนั้นหากเป็นพวกเล่นเกมส์แล้วคิดจะเล่นเกมส์บน notebook ที่จะซื้อนั้นก็ตัดตัวเลือกพวก Integrated ไปได้เลยครับ เพราะว่าจะได้ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปครับ เอาเป็นว่าเลือกดีๆไปก่อนเลยครับ แต่อย่างนึงที่อยากจะบอกคือเครื่องที่เป็น dedicated graphic card ส่วนใหญ่นั้นจะมีแต่ notebook ขนาดปกติ-ใหญ่ครับ นั่นก็คือ notebook ที่มีจอตั้งแต่ 15 นิ้วขึ้นไปเท่านั้นครับ เนื่องด้วยการออกแบบครับ ส่วนพวก notebook ขนาดเล็กก็จะมีเพียง Integrated และdedicated graphic card บางตัวเท่านั้นครับผม ;p
เราจะมาดูกันทั้งรุ่นและ spec คร่าวๆนะครับ ที่จะพอบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพได้หล่ะครับ ในส่วนของ dedicated นั้นเราจะแบ่งเป็นอีก 3 กลุ่มย่อยตามประสิทธิภาพครับ คือ Low-end, Mainstream และ Hi-end ครับ
Integrated Graphic Card (IGP)
เริ่มกันที่ Integrated graphic card ครับ อันนี้ก็จะมีอยู่ไม่กี่ตัวครับ ที่เห็นกันก็ของ Intel และ ATi ครับ ส่วนที่ประปรายสุดๆรวมทั้ง notebook เก่าๆก็ S3 ซึ่งจะมาพร้อม VIA chipset และ SiS ครับ ในกลุ่มของ Integrated นี่เหมาะสำหรับคนที่ใช้ notebook ทำงานทั่วๆไปครับ โดยที่จะไม่ใช่พวกเกมส์ 3D หล่ะครับ (ส่วน CM ก็ไม่มีปัญหาเพียงแค่ต้องหา RAM มากมายหน่อยครับ) เอาเป็นว่าจะเอามาดูเพียงแค่รุ่นที่เห็นกันบ่อยๆนะครับ
Intel Graphics Media Accelerator 900/950:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit bus, uses memory shared with system
ก็เป็นรุ่นที่เห็นกันทั่วไปสำหรับเครื่อง intel platform ครับ ด้วยความที่เป็น intel platform ครับเลยทำให้มี bus width ของระบบกว้างถึง 128-bit ครับ และยังเป็น 4 pipelines เรียกว่าสูงที่สุดของพวกตระกูล IGP ครับ แต่ด้วยความที่มี feature ที่รองรับน้อยกว่าอย่างพวก ATi X200M ทำให้กลายเป็นว่าอาจจะเล่นบางเกมไม่ได้เลยด้วยซ้ำครับ
ATI Mobility Radeon 9000/9100 IGP:
* DirectX Level: DirectX 8.1
* Pipelines: 2 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bits, shared with system
อันนี้จะมีเพียงแค่บน P4 notebook ครับ เพราะว่าไม่ได้มีทั่วไปครับ สงสัย intel ใช้กำลังภายในเอามาครับ 555 ด้วยความสามารถก็อยู่ในเกณฑ์ดีทีเดียวครับ แม้ว่าจะรองรับเพียงแค่ directX 8 ครับ เอาเป็นว่าก็พอเล่นเกม 3D ได้ครับ แต่ก็ต้องปรับแบบ low ทุกอย่างครับ ถึงจะพอเล่นได้ ^_^"
ATI Radeon Xpress 200M:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 2 Pipelines
* Memory Configurations: Width varies; 16MB, 32MB, and 128MB
อันนี้เป็นตัวที่ดีที่สุดสำหรับ IGP ครับ แต่ก็มีอยู่หลาย version ที่เดียวครับ ทั้งเป็น memory 128MB แยกเลยและทั้ง share จากระบบครับ ส่วนอีก version ก็คือ share จากระบบด้วย HyperMemory ครับ ได้ตั้งแต่ 16, 32, 128 MB เลยหล่ะครับ ซึ่งถ้าใช้ถึง 128MB แล้วละก็ HyperMemory จะใช้ความสามารถเต็มที่ที่สุดหล่ะครับ เพราะจะเหมือนเห็นเป็น 256 MB เลยทีเดียวครับ สำหรับ IGP ตัวนี้ก็พอจะเล่นเกมได้ครับ เนื่องด้วยแทบจะมี feature ครบทุกอย่างเพียงแค่จะไม่เร็วนัก.. (ไปทางช้ามากกว่าหน่อยครับ แหะๆ) เท่านั้นเองครับ (ซึ่งถ้าเป็นตัว 128MB memory แยกละก็เรียกว่าเป็นตัวที่เล่นได้ดีพอสมควรทีเดียวครับ สำหรับ IGP)
จริงๆก็ยังมีอีกหลายรุ่นครับ ของ ATi ครับ เช่น Mobility^(TM) Radeon 7000 IGP, Radeon 340M IGP, Radeon 320M IGP แต่ก็ไม่โดดเด่นเท่าเจ้าตัวที่บอกไปครับ และก็จะเป็นตัวเก่าๆในตลาดแล้วหล่ะครับ คงเหมาะแค่เพียงทำงานทั่วๆไปเท่านั้นจริงๆครับ
Low End Dedicated Cards
คราวนี้จะเป็น dedicated ที่ต่ำที่สุดครับ นั่นจะรวมถึง ATI Mobility Radeon, ATI Mobility Radeon 7500, ATI Mobility Radeon 9000, ATI Mobility Radeon 9200, nVidia GeForce 4 Go Series, nVidia GeForce FX Go 5200 ครับ จะเห็นได้ว่า nVidia เริ่มเข้ามาแล้วครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นผมว่าน่าจะเพราะยังไม่มี nForce chipset สำหรับ notebook ด้วยเลยทำให้ยังไม่มีตัว IGP ออกมาครับ แต่สำหรับ Low End Dedicated Card นั้นจะเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ IGP รุ่นใหม่ๆ เช่น พวก GMA 900/950 หรือ Radeon X200M ครับ (ก็เหนือกว่าแบบเล็กๆน้อยๆ ตามประสารุ่นใหญ่กว่าครับ ที่เห็นชัดๆก็น่าจะเรื่อง memory นี่แหละครับ เพราะส่วนใหญ่จะมี memory แยกจากระบบหลักครับ) อืม.. และนี่ก็เป็นกลุ่มของ Graphic Card ที่ดีที่สุดของ notebook ขนาดเล็ก (จอต่ำกว่า 13") ครับ
ATI Mobility Radeon X300:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 64-bit/128-bit; 32MB (w/ HyperMemory), 64MB, 128MB
สำหรับ X200M ก็คือเหมือนตัวต่ำกว่า X300 ส่วนตัวที่สูงกว่า X300 ก็คือ X600 ครับ เพราะเป็นการตัดความสามารถบางอย่างออกไป ซึ่งสำหรับ X300 นั้นเรียกได้ว่าเป็น Low end dedicated card ที่มีความสามารถสูงที่สุดหล่ะครับ (ที่พอจะสู้ได้ก็ Geforce Go 6400 ครับ) แต่ก็จะมีอยู่หลาย version เช่นกันครับ โดยจะมีของ Dell เพียงยี่ห้อเดียวที่จะเป็น 128 MB แบบแยกจากระบบครับ ซึ่งเป็นตัวที่ความสามารถแทบจะพอสู้ Radeon 9600 ได้เลยครับ สำหรับการเล่นเกมนั้นถือว่าอยู่ในจุดที่เล่นได้ ok เลยครับ เพียงแค่จะเล่นเกมใหม่ๆอย่าง Doom 3 ไม่ไหวครับ
nVidia GeForce Go 6200 and 6400:
* DirectX Level: DirectX 9c
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 64-bit width; 32MB (128MB after TurboCache) / 64MB (256MB after TurboCache)
สำหรับ 2 ตัวนี้แทบจะเหมือนกันครับ ต่างกันก็แค่เพียง clock ที่ 6400 จะมากกว่า 6200 ครับผมแต่ปัญหาคือทั้ง 2 ตัวนี้จะใช้ memory จากระบบทั้งคู่ครับ ทำให้ต้องพึ่ง TurboCache ครับ ซึ่งเป็นความสามารถคล้ายๆกับ Hypermemory ครับ เอาไว้อธิบายตอนจบเลยดีกว่าครับ สำหรับรุ่น 6400 ก็ใกล้เคียงกับ X300 ครับ ส่วน 6200 นั้น ถ้ามีทางเลือกก็เอา 6400 ไปเลยดีกว่าครับ
Mainstream Cards
สำหรับระดับนี้แล้ว จะเป็น notebook ขนาดปกติถึงใหญ่ครับ นั้นก็คือจอจะเป็น 15" ขึ้นไปครับ เนื่องด้วยการออกแบบและการระบายความร้อนของตัว chip เองด้วยครับ
ATI Mobility Radeon 9600 (9550) (Pro) (Turbo):
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 32MB (64-bit), 64MB (128-bit), 128MB (128-bit)
ตัวนี้เป็นตัวที่เป็นตัวเริ่มการ์ดจอดีๆสำหรับ notebook เลยทีเดียวครับ นับตั้งแต่ที่มี Radeon 9600 ลงตลาดทำให้มีการ์ดจอที่เรียกได้ว่าประสิทธิภาพดีสำหรับการเล่นเกม มาเป็นทางเลือกในตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประสิทธิภาพนั้นไม่ต้องพูดถึงเลยครับ เรียกว่าน่าจะเล่นได้เกือบทุกเกมครับ สามารถเปิด Antialiasing and anisotropic filtering ตอนเล่นได้ด้วยครับ ซึ่งจะทำให้ภาพสวยขึ้นทีเดียวครับ เพราะว่าถ้าเป็นเกมใหม่ๆหน่อยก็คงจะต้องใช้เป็น low setting เพื่อให้เล่นได้อย่างมีความสุขครับ อิอิ และอย่างน้อยก็น่าจะเป็นรุ่น 64MB Radeon 9600 ครับผม
ATI Mobility Radeon 9700:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit; 64MB, 128MB
ตัวนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ ก็เหมือนกับว่าเป็น Radeon 9600 ที่เร็วขึ้นนิดหน่อยครับ
ATI Mobility Radeon X600:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit; 64MB, 128MB
สำหรับตัวนี้คือ Radeon 9700 ในรูปแบบของ PCI Express ครับ แทบจะไม่เห็นความแตกต่างสำหรับ memory 128MB และ 64MB หล่ะครับ
nVidia GeForce FX Go 5700:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 4 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit; 64MB, 128MB
สำหรับตัวนี้จะเป็นตัวต่ำที่สุดในระดับนี้ครับ เนื่องจากเป็น FX series เลยทำให้มี feature ต่างๆสำหรับ directX 9 ครับ แต่ประสิทธิภาพที่ได้นั้นไม่ค่อยดีนักครับ ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไปหาตัวอื่นดีกว่าครับ เพราะในระดับนี้ดูเหมือนจะเป็น ATi ที่ทำได้ดีกว่าครับ
High End Cards
ATI Mobility Radeon 9800:
* DirectX Level: DirectX 9
* Pipelines: 8 Pipelines
* Memory Configurations: 256-bit; 128MB, 256MB
ด้วย spec ระดับนี้ก็ไม่ต้องห่วงหล่ะครับ ประสิทธิภาพไม่น่าเป็นห่วงเล่นได้ทุกเกมครับ ไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าครับ โดยจะให้ประสิทธิภาพพอๆกับ Radeon 9800 Pro ของ desktop เลยทีเดียวครับ แม้ว่าจะเปิดการใช้งานของ antialiasing and anisotropic filtering ก็ยังทำได้ดีครับ
ATI Mobility Radeon X700:
* DirectX Level: DirectX 9b
* Pipelines: 8 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit; 64MB, 128MB
สำหรับตัวนี้เป็นตัวที่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Mobility Radeon 9800 ครับ ซึ่งก็เทียบได้กับ a desktop Radeon X700 Pro ครับ ตัวนี้ก็น่าจะเป็นตัวที่แนะนำสำหรับฝั่ง ATi หล่ะครับ
ATI Mobility Radeon X800 (XT):
* DirectX Level: DirectX 9b
* Pipelines: 12 Pipelines (16 Pipelines for the XT)
* Memory Configurations: 256-bit quad-channel GDDR3 memory interface
สำหรับ Radeon ตัวนี้ของ ATi เรียกได้ว่าประสิทธิภาพพอๆกับ GeForce Go 6800 ครับ ซึ่งจะมีเพียงแค่ใน notebook รุ่นใหญ่ที่สุดแล้วจริงๆครับ แม้ว่าจะเปิด antialiasing and anisotropic filtering ก็ยังเล่นได้แบบลื่นไหล ไม่มีรู้สึกว่าช้าลงครับ และก็จะมี XT version ที่เป็น 16 pipelines ที่เทียบได้กับ desktop XT PE edition เรียกว่าประสิทธิภาพหาตัวจับยากครับ
nVidia GeForce Go 6600:
* DirectX Level: DirectX 9c
* Pipelines: 8 Pipelines
* Memory Configurations: 128-bit; 64MB, 128MB
ตัวนี้ก็มาเพื่อชนกับ Mobility Radeon X700 ครับ แต่ก็จะรองรับถึง DirectX 9c ครับ ในขณะที่ X700 รองรับเพียง 9b ครับ เรื่องประสิทธิภาพไม่ต้องพูดถึงครับ เรียกได้ว่าเป็นตัวที่น่าสนใจมากตัวนึงครับ และน่าจะเหมาะสมที่สุดสำหรับ notebook จอ 15.4" นิ้วครับ
nVidia GeForce Go 6800 (Ultra):
* DirectX Level: DirectX 9c
* Pipelines: 12 Pipelines
* Memory Configurations: 256-bit 256MB
ตัวนี้เป็นตัวที่น่าจะเรียกได้ว่าดีที่สุดสำหรับ notebook ครับ (ถ้าไม่นับ 7800 GTX) เอาเป็นว่าไม่มีอะไรที่มีปัญหา สำหรับตัวนี้เลยครับ มาดู spec อีกนิดหน่อยครับ
Memory Bandwidth (GBps) Up to 35.2
Fill Rate (pixels/sec.) 5.4 billion
Vertices/Second 565 million
RAMDACs 400 MHz
nVidia GeForce Go 7800 GTX
* DirectX Level: DirectX 9c
* Pipelines: 12 Pipelines
* Memory Configurations: 256-bit 256MB
* Memory Bandwidth (GB/sec.) 38.4
* Fill Rate (billion pixels/sec.) 10.32
* Vertices/sec. (million) 860
* RAMDACs (MHz) 400
ตัวสุดท้ายครับ แม้ว่า 6800 ก็เรียกได้ว่าดีที่สุดแล้วครับ แต่ว่ายังมีอีกตัวครับ นั่นก็คือ 7800 GTX ครับ ซึ่งน่าจะยังไม่ลงสู่ตลาดจริงๆ น่าจะเรียกได้ว่าจะได้เห็นตัวนี้กันอีกไม่เกินไตรมาสนึงครับ สำหรับ Spec แล้วก็ไม่ต้องคิดเลยครับ ดีกว่า 6800 อยู่เกือบๆ 2 เท่าเองครับ... แหะๆ ซึ่งคงจะเป็นตัวที่อยู่ใน notebook ที่เป็นรุ่น top จริงๆเท่านั้นครับ
reference :
- ATi Mobile Products
- nVidia Mobile Products
Harddisk drive
สำหรับ Harddisk ของ notebook นั้นเท่าที่ผมเห็นที่ขายกันก็จะมีใหญ่สุดไม่น่าจะเกิน 100GB นะครับ ซึ่งจริงๆก็มีถึง 160 GB ครับแต่ประเด็นที่แตกต่างกันมันก็มีแค่ 2 ปัจจัยครับ คือ cache และความเร็วรอบครับ
• Spindle Speed หรือความเร็วรอบแกนหมุน: ตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยหลัก ของความเร็วของ Harddisk ครับ โดยสำหรับ notebook นั้นจะมีตั้งแต่ 7200, 5400 และ 4200rpm ครับ เท่าที่หาดูในไทยตัว 7200rpm ท่าทางจะหายไปแล้วครับ ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใด แต่เมื่อเร็วมากสิ่งที่ตามมาคือ ไฟและความร้อนครับ จริงๆก็รวมถึงเสียงด้วยครับ ที่ต้องเอาไปแลกกับความเร็วครับ จริงๆก็น่าจะไม่เหมาะกับ notebook ขนาดเล็กแน่ๆครับ แต่สำหรับ notebook ขนาดใหญ่หน่อย ที่ทำเพื่อทดแทน desktop ผมว่ามันเป็นทางเลือกที่น่าสนจริงๆครับ ส่วน 4200rpm นั้นแม้จะประหยัดไฟ ร้อนน้อยแค่ไหนมันก็เป็นทางเลือกที่ไม่ดีนักจริงๆครับ เพราะอย่างว่า Harddisk ยังไงก็ยังเป็นคอขวดของระบบอยู่ดีไม่ว่าจะเป็นระบบไหนทั้ง desktop และ notebook ครับ
• cache หรือ buffer: อันนี้ก็เหมือนเป็น memory สำหรับพักข้อมูลครับ ระหว่างที่อ่านจากแผ่นกับส่งต่อเข้า BUS ครับมันจะสำคัญมากพอสมควรครับ เนื่องจาก BUS ซึ่งเรียกได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าพอสมควรครับ ทำให้ข้อมูลอาจจะต้องมาออกันเพื่อเข้าสู่ Harddisk ครับเลยต้องมีเจ้านี่มาช่วยรับหน้าไว้ก่อนครับ โดยปกติขนาดของ cache นั้นจะขึ้นกับขนาดของ Harddisk ซะมากกว่าครับ cache ใหญ่ก็ดีจริงครับแต่มักจะไม่ค่อยมีให้เลือกนี่ซิครับ ;p
2 ปัจจัยนี้ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเร็วครับ แต่จริงๆแล้วก็ยังมีอีกครับ นั่นคือขนาดของ Harddisk นั้นเอง จะดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยวครับ แต่มันก็เกี่ยวนี่ซิครับ เพราะว่าเมื่อ Harddisk ใหญ่ขึ้น มันก็จะทำให้ disc ใน Harddisk นั้นต้องใหญ่ขึ้น ความจุเพิ่มขึ้นนะครับ แต่ขนาดทาง physical ไม่ได้ใหญ่ไปด้วยครับ กลายเป็นต้องเพิ่ม disc แทนครับ ทำให้หัวอ่านเพิ่มขึ้น มันก็เลยกลายเป็นเมื่อหมุนไปเท่ากัน กลายเป็นอ่าน/เขียนได้เพิ่มขึ้นนั่นเองครับ (และจริงๆก็คือทำให้ต้องมี cache เพิ่มขึ้นตามไปด้วยครับ) เอาเป็นว่าถ้ามีทางเลือกก็อย่าลืมมองดูบ้างครับ ว่ามันรุ่นอะไร แล้วลองมาหาใน web ผู้ผลิตดูว่ารุ่นดี ok รึป่าวครับ ส่วนใหญ่แล้ว cache ของ Notebook Harddisk จะมีขนาด 8MB ไม่ว่าจะความเร็วรอบเท่าใดครับ ถ้าต่ำกว่านี้ก็หายี่ห้ออื่นรุ่นอื่นได้เลยครับ ;p
reference : Seagate Notebook and Laptop Storages
Monitor #2: comparison
อืม จากในบทความแรกครับ "มาเลือก notebook กันดีกว่า" คราวนี้ได้ตัวจอมัน หรือจอ Crystal view มาแล้วครับ แต่ที่ผมได้เป็น Fujitsu นะครับ ทำให้มีเปรียบเทียบจอทั้งสองแบบครับ กะว่าจะถ่ายรูป แต่พอถ่ายแล้วมันก็มองไม่ชัดอยู่ดีครับ เอาเป็นว่ามาอธิบายกันคร่าวๆครับ เพราะว่ามันก็บอกยากอยู่ดีแหละครับ ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ จากที่เทียบนะครับ ผมมีเทียบอยู่ 3 เครื่องคือ Fujitsu S2020, Fujitsu S2110 และ IBM R50e ครับ มีเพียงตัวเดียวที่เป็นจอ Crystal view คือ S2110 ครับ
ได้ข้อสรุปว่า สำหรับ Fujitsu นั้นไม่ว่าจะเป็นจอแบบใดสีขาวนั้นก็จะเป็นขาวอมเหลืองครับ เจ้า S2020 นั้นเรียกได้ว่าเหลืองมากอยู่ครับ ส่วน S2110 นั้นจะขาวขึ้นครับ ถ้าไม่เทียบกับจออื่นก็จะคิดว่ามันขาวแล้วครับ แต่พอมาเจอ R50e เป็นจอด้านปกติครับ เรียกได้ว่า แสดงสีขาวได้ดีที่สุดจริงๆครับ แม้ว่า contrast จะสู้จอมันไม่ได้ครับ เอาเป็นว่าถ้าเป็นสี grayscale ผมให้ IBM R50e ชนะขาดครับ อีกเหตุผลนึงที่ผมให้มันชนะขาดเพราะว่าเวลาที่จอ crystal เป็นสีดำ จะทำให้เป็นเหมือนกระจกครับ มีการสะท้อนชัดเจนเอามากๆครับ ผมถือว่ามันไม่ดีครับ แต่ถ้าเป็นสีอื่นที่สว่างๆ ก็จะไม่มีปัญหาครับ ...
ข้อสังเกตอีกข้อคือผมว่า เมื่อเปิด web capsules หน้าแรกครับเปิดทั้ง 3 เครื่องผมว่ามันคล้ายกันมากครับ เรียกว่าแทบแยกไม่ออกว่าจอไหนเห็นชัดกว่ากัน หรือสีเครื่องไหนสวยสุดครับ พอๆกันจริงๆ น่าจะเพราะสีจะไม่สดมาก ออกโทนอ่อนๆมากกว่ามั้งครับ แต่ถ้าดูภาพสีสดๆ จะกลายเป็นว่าจอ crystal ก็แสดงอารมณ์ของภาพได้ชัดเจนที่สุดจริงๆครับ ;p เท่าที่ลองแล้วผมก็คงสรุปเหมือนเดิมครับ แต่เพิ่มนิดนึงคือ จากที่จะเอา web ที่เราดูจนคุ้นตาไปลองเปิดดูแล้ว แนะนำให้เอารูปที่เราชอบ จะสีสดไม่สด ไม่รู้ครับ ลองเอาไปเปิดดูว่าพอใจกับภาพที่เห็นรึป่าว ถ้าพอใจผมว่านั่นก็เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดครับ อย่าลืม.. เปิดเทียบกับอีกตัวนะครับ ไม่งั้นเราจะมองไม่เห็นความแตกต่างเลยครับ จะกลายเป็นว่าให้เปิดทำไม ไม่เห็นแตกต่างกันเลย 555 แล้วอย่ามาโทษกันครับ หุหุ
Battery & else....
มาถึงเรื่องสุดท้ายที่จะพูดถึงครับ ซึ่งจริงๆก็จะมีอีกตามรายละเอียดปลีกย่อยตามที่แต่ละคนสนใจอีกครับ จะอธิบายยังไงก็คงไม่หมดครับ แต่ผมว่าก็น่าจะได้หลักๆทั้งหมดแล้วครับ สำหรับเรื่องนี้ ผมว่ามันเป็นจุดที่สำคัญเพราะจุดประสงค์ของ notebook ครับ คือ PC ที่พกพาได้ ไปไหนได้ และใช้งานได้ทุกที่ ไม่จำกัดแค่เพียงบนโต๊ะดังนั้นการใช้งานโดยขาดแหล่งพลังงานอย่างที่ใช้ยังไงก็ไม่หมด อย่างปลั๊กไฟ 55 เรียกว่าเป็นจุดสำคัญอีกจุดนึงครับ แม้ว่าแบตเตอรี่สมัยนี้จะพัฒนาให้เล็กลง จุมากขึ้น แต่อุปกรณ์ทั้งหมดก็พัฒนาไปด้วยครับ ซึ่งการที่จะได้ประสิทธิภาพดีขึ้นนั้น ก็ต้องแลกกับพลังงานมากขึ้นตามไปด้วยครับ แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่ก็ไม่อาจจะทำให้ notebook เราอยู่ได้เหมือน PDA บางรุ่นที่จะอยู่ได้ซัก 8 ชม. 10 ชม. เอาเป็นว่าระยะเวลาการใช้งานนั้นจะขึ้นกับการใช้งาน รวมทั้งการตั้งค่าของ power management function ด้วยครับ คงจะบอกไม่ได้ว่าตัวไหนจะใช้ได้จริงๆแค่ไหนครับ แต่คร่าวๆ เท่าที่ผมเห็นใหญ่ที่สุดก็น่าจะเป็นประมาณ 4800-5800 mAh ครับ ซึ่งจะใช้ได้ราวๆ 3-5 ชม. ตามแต่การใช้งานครับ โดย battery ขนาดนี้จะมีในพวก mainstream กลางๆไปจนถึง hi-end ครับ ส่วนพวก low-end ถึง mainstream ช่วงแรกๆ ก็จะมี battery ประมาณ 2x00-3x00 mAh ครับ จะใช้งานได้เพียง 1-2 ชม. นิดๆครับ ซึ่งจริงๆแล้วก็จะไม่มีปัญหาหากมีที่ทำงานประจำ ต้องการเพียงเอา notebook ไปทำงานที่ office และเอางานกลับมาต่อที่บ้านก็ ok ครับ
โดยจะมีทางเลือกคือเป็น docking battery หรือ battery ก้อนที่ 2 มาช่วยได้ครับ ก็แล้วแต่ความจำเป็นในการใช้งานครับ ^_^
ที่เหลือก็จะเป็นพวกการเชื่อมต่อต่างๆครับ เช่น FireWire port, USB port, DVD-writer, combo drive, port เชื่อมต่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น monitor, Serial, parrarell ครับ ก็อย่าลืมดูๆไว้ด้วยนะครับ ที่ต้องดูจริงๆก็ notebook ขนาดเล็กครับ เนื่องด้วยขนาดทำให้ไม่มีที่วาง port ต่างๆครับ ทำให้จะเหลือเพียงแค่ port ที่เค้ามองว่าจำเป็นครับ (จำเป็นเรารึป่าวอีกเรื่องครับ 55) แต่ความเป็นจริงแล้วก็ทำทางไว้เผื่อไว้แล้วครับ นั่นคือ docking station ครับ แต่มันเป็น optional เราต้องซื้อเพิ่มเท่านั้นครับ (ดังนั้นดูให้ดีให้พอใจก่อนดีกว่าครับ เพราะอุปกรณ์เสริมมันแพง ;p)
เท่าที่ผมเห็นส่วนใหญ่ notebook ใหม่ๆก็จะมี USB port มาให้ 3 port, Firewire 1 port, Infrared, Monitor out, Mic in, Audio out เป็นอย่างน้องครับก็น่าจะเพียงพอพอสมควรครับ ;p
Selection
หลังจากที่ทำความเข้าใจในเรื่อง spec มากันพอสมควรครับ ถึงเวลาที่จะมาเลือกเครื่องจริงๆกันซักทีครับ เพราะว่าไม่ได้เหมือน desktop ที่จะอยากได้อะไรก็ซื้อแล้วมาประกอบกันได้ครับ คงต้องเป็นการเลือกยี่ห้อรุ่น จุดมุ่งหมายของบทความนี้ก็อยากจะให้ classify notebook แต่ละรุ่นได้ครับ ว่าเราจะเลือกอะไร อยู่จุดไหน หาความเหมาะสมระหว่างประสิทธิภาพและงานที่เราจะใช้ครับ สำหรับ Low end, mainstream, hi end ที่จะใช้แบ่งระดับของ notebook นั้นจะขึ้นกับ graphic card เป็นหลักครับ รองๆก็คือ chipset และ CPU ครับ เพราะว่าสิ่งที่ทำให้มันแตกต่างระหว่าง notebook ได้ชัดเจนจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดครับ แต่ไม่ใช่หมายความว่า low end จะแย่อะไรครับ เพียงแค่การวางตลาดต่างกัน ก็เหมาะกับงานต่างๆกันไปครับ ส่วนตัวแล้วตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ mainstream (ไปทาง low-end) ครับ เป็นจุดที่น่าสนใจที่สุดครับ เพราะว่าราคา+ประสิทธิภาพน่าจะสมดุลที่สุดครับ และผมก็ทึกทักเอาเองว่าคนใช้ notebook ส่วนใหญ่คงจะไม่ได้เล่นเกมกันเป็นกิจวัตรครับ ฮ่าๆ
เอาเป็นว่าผมทำให้เป็น diagram สำหรับเปรียบเทียบครับ น่าจะพอครอบคลุมทีเดียวครับ เรียกว่าถ้าอันไหนเป็นปัจจัยหลักก็จิ้มมันตรงนั้นเลยครับ แล้วก็ขีดเส้นตั้งฉากครับ ก็จะได้ทั้งยี่ห้อที่มีและ spec ที่เป็นไปได้ให้เลือกสรรกันครับ น่าจะง่ายขึ้นในการ scope รุ่น notebook ที่สนใจครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่าลืมจุดนึงครับ ที่ว่าราคานั้นประกอบด้วย performance + design ครับ โดยตัวหลังนี่ค่าตัวมันจะสูงกว่าจริงๆครับ เหอๆ
อธิบายกับ diagram ให้เข้าใจตรงกันซักหน่อยครับ หลักๆก็คือ ฝั่งซ้ายก็คือ ถูกและประสิทธิภาพน้อยกว่าทางฝั่งขวาครับ
• Hi-End: วางไว้ว่าเป็นเครื่องที่เล่นแทบจะได้ทุกอย่างหล่ะครับ เหมาะจริงๆสำหรับ gamer ครับ ส่วนคนที่ไม่เล่นเกมผมก็ไม่แนะนำครับ เพราะเปลือง.. ฮ่าๆ
• Mainstream: อันนี้ก็เป็นส่วนที่เรียกว่ากว้างที่สุดครับ ถ้าค่อนไปทาง Hi-end ก็จะมีประสิทธิภาพดีครับ แต่ก็ไม่เหมาะกับการเล่นเกมใหม่ๆ คงได้เพียงเล่นแก้เหงาบ้างครับ ส่วนงานอื่นๆก็ไม่ต้องกังวลครับ ไม่มีปัญหาแน่นอน ส่วนถ้าค่อนมาทาง low end ก็จะทำงานได้ดีครับ เพียงแค่เรื่องเกมก็อย่าไปหวังมันเลยครับ อิอิ อย่าเล่นดีกว่าครับ จะหงุดหงิดเปล่าๆครับ ในตลาดส่วนนี้ประเด็นให้เลือกก็น่าจะอยู่ที่ขนาด+ design ด้วยครับ ทำให้มันมีความแตกต่างของราคาค่อนข้างมากครับ
• Low-End: ส่วนนี้ก็ปกติครับ เป็นเครื่องใช้งานจริงๆครับ พิมเอกสาร, งาน office, online ล้วนทำได้ทั้งนั้นครับ เพียงแค่อาจจะต้องใจเย็นบ้าง อาจจะไม่เร็วไม่แรง แต่ก็ไม่ช้าจนน่ารำคาญครับ ในตลาดส่วนนี้ก็จะมีขนาดเข้ามาเกี่ยวด้วยครับ ประเด็นก็คือแบตเตอรี่ด้วยครับ ถ้าขนาดเล็กนั้นแบตเตอรี่ในตลาดส่วนนี้มักจะไม่ใหญ่ครับ เนื่องด้วยลดต้นทุนครับ ทำให้เล่นได้ไม่นานนัก แต่ถ้ามีปลั๊กตามที่ใช้งานก็ไม่มีปัญหาครับ
ด้วยความที่มียี่ห้อด้วยเลยทำให้ต้องอธิบายกันสั้นๆครับ ว่าทำไมจึงเป็นแบบนี้ จริงๆจะพยายามใส่รุ่นด้วยครับ ... แต่ด้วยความที่ข้อมูลไม่ใช่น้อยครับ เลยเอาเป็นว่า ไม่แน่ครับ ฮ่าๆ ถ้าว่างๆก็จะใส่ไว้บ้างครับ หรือพัฒนาให้มันเลือกได้ง่ายๆ มี database เล็กๆครับ (ยังคิดรูปแบบไม่ออกครับ แหะๆ) แต่ตอนนี้เอาสั้นๆไปก่อน ฮ่าๆ อาจจะไม่ครบทุกรุ่นแต่ผมว่าเป็นยี่ห้อที่เอาเป็นว่าน่าสนใจกว่าตัวอื่นละกันครับ
สำหรับ Toshiba นั้นมี Low-end อยู่หลายตัวครับ แต่ผมไม่ทราบว่าเข้าไทยจริงๆรึป่าวครับ แต่ที่ระดับ hi-end นั้น Toshiba ยังไม่มีตัวไหนที่ออกมาแบบใช้ card จอแบบระดับสุดๆจริงๆเลยครับ เห็นสูงสุดเพียงแค่ Geforce Go 6600 เท่านั้นผมก็เลยให้ได้แค่นี้ครับ
สำหรับ Fujitsu แล้วเรื่องราคานั้นอยู่ในจุดที่ค่อนข้างสูงคงเพราะ design รวมไปถึง spec ก็ยังมีหลากหลาย จริงๆแล้วก็จะเน้นไปในส่วนของ mainstream มากกว่าครับ แต่สำหรับ Hi-end ก็ยังมีให้เลือกครับ
สำหรับ Acer นั้นคงเห็นกันได้ทั่วไปครับ ส่วนรุ่น Hi-end ที่ต้องยอมจริงๆก็คือ Ferrari 4000 series นี่มันครบทั้ง performance และ design จริงๆครับ น่าจะเป็นยี่ห้อที่ออกมามากที่สุดจริงๆครับ
ค่ายใหญ่อย่าง IBM/Levono นั้นคงจะไม่มีมีใครปฏิเสธว่ามีมันทุกรุ่นจริงๆครับ ตั้งแต่ R series, X series และ T series เรียกว่าครบเครื่องอยากได้เครื่องประมาณไหน ส่วนความเป็นมาตรฐานนั้น ..ฮ่าๆ หน้าตาเหมือนๆกันทุกรุ่นครับ ;p
สำหรับค่า HP/Compaq จริงๆแล้วก็จะให้ customize เองได้หล่ะครับ (สงสัยเลียนแบบ dell) แต่ในเมืองไทยก็มีให้เลือกไม่มากครับ เลยไม่รู้จะทำไงเหมือนกันครับ เขียนไม่ถูกครับ เอาเป็นว่าขีดเส้นให้รู้ว่ามีเยอะครับ .. แต่ในไทยน่าจะมีแค่สูงสุดแค่ mainstream ครับผม
SONY VAIO ชื่อนี้นั้นทำไมต้องมี *** เพราะว่าด้วยราคากับประสิทธิภาพแล้วไม่เข้ากันครับ จะให้มันอยู่ใน Hi-end ก็ทำไม่ได้ครับ เพราะว่าเราจะวัดกันที่ประสิทธิภาพไม่ใช่ราคาครับ เหอๆ VAIO นั้นเรียกได้ว่าไม่มีรุ่นไหนที่จะเกินตลาด mainstream เลยครับ มีเพียง spec ธรรมดาๆกับจอสวยๆเท่านั้นจริงๆครับ แต่ราคานี่น่าจะเรียกว่า Hi-End จริงๆครับ ฮ่าๆ
Local brand อย่าง ATEC นั้นจะเป็น AMD Instead ทั้งสายครับด้วยความที่เจาะทั้ง Sempron และ Turion 64
BTC notebook สั่งประกอบได้ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19900฿ ไม่รวม VAT เท่านั้นครับ แต่ด้วยความที่ประกอบเองทำให้มี spec ให้เลือกสรรไม่มากนักครับ เลยคงอยู่ได้เพียงระดับ low-end ครับ
Conclusion
ก็จบแล้วครับ สำหรับ Notebook selection #2 เรียกว่าถ้ารวมกัน Notebook selection #1 ก็น่าจะครอบคลุม และให้มุมมองเพียงพอสำหรับคนที่อยากซื้อ notebook แต่ดูแล้วไม่เห็นมันจะต่างกันเลย จะครอบคลุมแค่ PC นะครับ ส่วน Mac อย่าง iBook, PowerBook ผมก็ไม่ทราบครับ 555 แต่รุ่นก็มีไม่มากก็คงไม่เป็นปัญหาครับ เอาเป็นว่าเทคโนโลยีก็เปลี่ยนไปเรื่อยครับ ออกมาใหม่กันตามไม่ทัน อีกไม่นานรุ่นที่กล่าวถึงในนี้ก็คงล้าสมัยไป คงไว้เพียง concept ในการแบ่งแยกระดับเหมือนเดิมครับ ส่วนเราผู้ใช้ ผู้ซื้อก็ซื้อให้เหมาะกับการทำงานเราดีที่สุดครับ ไม่ต้องเผื่ออนาคตหรอกครับ เพราะอนาคตมันก็อนาคตครับ ดีแค่ไหนก็ตกรุ่นเหมือนกันครับ ตามหลักพอเพียงเลยครับ ฮ่าๆ ;p
สุดท้ายจริงๆแล้วครับ ผมว่าเลือกคนที่เลือก notebook นั้นผมว่าก็เลือกแค่ 2 อย่างครับ คือ design+performance ครับ design นี่แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ performance นี่ชัดเจนครับ.. แต่ผมว่าอีกอย่างคือการใช้งานครับ ตามในบทความ "มาเลือก notebook กันดีกว่า" ครับ เป็นมุมมองที่สำคัญทีเดียวครับ ขอให้ได้ notebook ที่ถูกใจครับ ^_^