26 KiB
layout | title | created | categories |
---|---|---|---|
post | การแก้ปัญหาเบื้องต้น | 1135210847 | [palm faq] |
ในที่สุดก็ต้องมาเขียนเก็บไว้จนได้ครับ เนื่องด้วย..จะไม่สามารถอยตอบได้ตลอดแล้ว ;p เอาเป็นว่ามีปัญหาก็ลองเข้ามาได้จริงๆกะจะทำเป็นระบบกว่านี้ แต่เอาเถอะยังไม่ได้ก็ใช้ Ctrl+F หาเอาละกันครับ
สำหรับการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้นจริงๆแล้ว มันเป็นบทความนึงที่จะรวมในมือใหม่หัดใช้ Palm แต่สุดท้ายเขียนๆไป มันเปลี่ยนประเด็นไปลึกเกินเลย แหะๆ ยังไม่ได้เขียนซักที เอาเป็นว่าได้โอกาสเหมาะแล้วครับ แยกๆ เป็นเรื่องๆ ก่อนที่จะไม่ได้เขียนซักเรื่องแล้วกัน
การแก้ปัญหาเบื้องต้นจริงๆมันก็แล้วแต่ sense ละครับ สิ่งที่ควรรู้กันก่อนก็คือ วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดครับ คือ reset นั่นเองครับ การ reset นั้นมีอยู่หลายแบบมากอยู่ครับ แต่ที่ใช้จริงๆ มีประโยชน์สำหรับ user ทั่วๆไปก็แค่ Soft reset, Warm reset และ Hard reset ครับ มาดูกันครับ (จริงๆอยากจะ copy ของ Palm.com แปะนะเนี่ย -_-')
▪ Reset
- • Soft Reset - อันนี้ก็คือ reset ธรรมดาหล่ะครับ จิ้มที่ปุ่ม reset ธรรมดาเลยครับ มันก็จะทำการเริ่มระบบใหม่ให้ครับ เหมือนกับ restart ของ com ซึ่งคงไม่มีอะไรมากครับ เอาไว้แก้ปัญหาเบื้องต้นธรรมดาๆครับ มี fatal alert มาเมื่อไหร่ ก็จัดการซะ ;p
• System (Warm) Reset - การ Warm reset นั้นต่างกับการ reset ธรรมดาหรือ soft reset ตรงที่มันจะ bypass พวกโปรแกรมหรือการทำงานอื่นๆ นอกจากระบบพื้นฐานทั้งหมดครับ ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เราสามารถตัดปัญหาไปได้เยอะพอสมควรครับ เช่น ปัญหาที่เกิดจาก software ครับ เพราะว่าเวลา reset ครั้งนึง Palm มันจะไปบอกกับทุกๆโปรแกรมว่ามีการ reset แล้วนะ จะให้ทำอะไรรึป่าว (ถ้าเป็นพวก Laucher หรือพวกไทย มันก็จะรับรู้แล้วเปิดการทำงานใหม่ครับ) ดังนั้นพวกโปรแกรมต่างๆก็จะไม่เปิดการทำงานครับ ทำให้เราลบ หรือลงใหม่ ได้ครับ จะมีการใช้ warm reset นี้ก็ต่อเมื่อ reset ธรรมดาแล้วก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครับ
วิธี: กดขึ้นค้างไว้ + จิ้ม reset แล้วก็รอจนกว่าจะเข้าหน้า Prefs | date and time ครับ
(สำหรับ Clie จะกดซ้ายแทนขึ้นครับ เพราะว่าไม่มีปุ่มขึ้นครับ)
ข้อสังเกตของการทำ warm reset ก็คือมันจะแสดงเพียงแค่หน้า Palm Powered ครับ จะไม่แสดงหน้ารุ่น (เช่น Tungsten, Zire) ก่อนที่จะเข้าสู่ Date and Time ครับ ดังนั้นถ้ายังเห็นหน้าดังกล่าวอยู่ก็ทำใหม่ครับ.. อีกอย่างก็คือ มันจะ reset เร็วกว่า soft reset ธรรมดาอยู่พอสมควรครับ
• Hard Reset - อันนี้ก็เหมือน format แล้วลงใหม่ของ PC ครับ แต่ว่าสำหรับ Palm แล้วระบบปฏิบัติการมันอยู่ใน ROM ครับ เลยไม่ต้องลงอะไรใหม่ครับ เป็นการทำให้เหมือนเพิ่งซื้อเครื่องใหม่ครับ ไว้สำหรับต้องการจะลงโปรแกรมใหม่ทั้งหมด หรือแก้ปัญหาที่ warm reset ก็เอาไม่อยู่ครับ (ส่วนมากจะเป็นจอกระพริบตลอด reset อะไรก็ยังเป็นเหมือนเดิมครับ)
วิธี: ก็จะคล้ายๆกับ Warm reset แต่มีขั้นตอนมากกว่าครับ คือ กด power ค้างไว้ครับ แล้วจิ้ม reset ครับ รอจนกว่ามันจะค้างที่หน้า Palm Powered ครับ ซึ่งก็มีหลายแบบครับ ตามแต่รุ่นครับ
เมื่อเห็น Palm Powered ทั้งหลายแล้วก็ปล่อยปุ่ม power ครับ แล้วจะพบกับคำถามครับ
สำหรับ Palm ก็จะกดขึ้นเป็นการลบทั้งหมดครับ ส่วน Sony Clie จะเป็นปุ่มซ้ายครับ เมื่อตอบ Yes ไปแล้วมันจะให้ตั้ง digitizer ใหม่และค่าต่างๆเกือบทั้งหมดครับ แล้วก็เข้าสู่ระบบแบบสะอาดหมดจดครับ
ข้อสังเกต: มันต้องขึ้นคำถาม Erase all data? นะครับ ถ้าไม่ขึ้นแสดงว่าเรากดปุ่ม power ไม่สุดครับ ถ้าเป็นอย่างพวก body T|E ปุ่ม power มันจะจมไปหน่อยก็กดกันดีๆนะครับ ส่วน Clie ก็ต้องกดไว้แน่นๆหน่อยนะครับ เพราะปกติแล้วมันก็จะเด้งกลับมาตรงกลางเสมอครับ
▪ Reset แบบอื่นๆดีควรรู้ครับ
• In-cradle reset - การ reset แบบนี้เป็นการ reset วงจร charge ของเจ้า Li-ion ครับ แนะนำให้ทำเมื่อใช้ๆไปแล้วรู้สึกว่า "เอ.. ทำไม batt หมดเร็วกว่าปกติเนี่ย~" ก็ลองทำดูครับ แล้วจะทำให้วงจร charge ของ batt ดีขึ้นครับ
วิธี:
1. เสียบ cradle/cable ชาร์จเจ้า palm ไว้เลยครับ
2. รอซัก 5 นาทีแล้วก็จิ้ม reset ทั้งๆที่ charge อยู่นั่นแหละครับ
3. charge ทิ้งไว้จน battery เต็มเลยครับ (ซัก 2-3 ชม. ก็ได้ครับ)
เท่านี้ก็จะช่วยให้ palm charge ได้เต็มที่กว่าเดิมบ้างหล่ะครับ แต่ไม่ใช่ว่ามันจะช่วยได้ทุกเครื่องนะครับ เพราะว่าถ้ามันยัง ok อยู่ทำไปก็ไม่มีผลอะไรครับ กลับกันถ้า battery เสื่อมไปแล้วก็ไม่มีประโยชน์อีกเหมือนกันครับ ^_^
• Zero out reset - อันนี้จะได้ผลเป็นเหมือน Hard reset เลยครับ แต่จะใช้สำหรับ Palm รุ่นที่มี memory เป็นแบบ NVFS เท่านั้นครับ เนื่องจากพวก flash memory นั้นจะยังสามารถกู้ข้อมูลเดิมๆมาได้แม้จะลบไปแล้วครับ (นึกถึงโปรแกรม recovery ใน Hard disk ครับ เหมือนๆกันครับ) แต่การ reset แบบนี้จะทำให้มันสะอาดหมดจด recovery ไม่ได้เลยหล่ะครับ น่าจะเหมาะก็แค่จะขายมือสอง, ส่งเคลมครับ แล้วก็จัดการซะอยากให้มันขาวจั๊วะ อิอิ ซึ่งวิธีมันก็ลำบากอยู่ครับ เอาเป็นว่าน่ารำคาญพอสมควรครับ แนะนำให้ไปอ่านเองตาม link ด้านล่างครับ ที่ไม่เขียนเพราะว่าคงน้อยคนจริงๆครับ ที่ใช้ และก็เครื่องรุ่นที่ใหม่ขึ้น อย่าง T|E2 นั้น Zero-out Reset กับ Hard reset ก็เหมือนกันแล้วด้วยครับ ผมเลยเดาว่า T|X Z22 ก็คงเหมือนกันเป็นแน่ครับ ^_^" สรุปแล้วก็มีเพียง T|T5 และ Treo650 ครับที่มี Zero out reset ครับ
ก็จบกันไปครับ เรื่อง reset เอาเป็นว่ามันเป็นสิ่งที่ควรรู้ไว้ครับ จะได้แก้ปัญหากันได้ครับ แต่แค่ reset นั้นก็อาจจะไม่พอครับ ทำให้ต้องมีอีกเรื่องครับ ที่ช่วยให้เรากู้ระบบเดิมกลับมาได้ครับ นั้นก็คือการ backup นั้นเองครับ ^_^
▪ Backup
สำหรับการ backup นั้นจะไม่จำเป็นเลยครับ ถ้าไม่มีอะไร ไม่มีข้อมูลที่สำคัญ หรือคิดว่าถ้ามีปัญหา อย่างมากก็แค่ลงใหม่เองนี่นา แต่ถ้าคิดว่ามันจำเป็นผมว่าก็น่าจะรู้ไว้บ้างครับ ว่ามันเป็นยังไงครับ แหะๆ ก่อนอื่นถ้ามีอารมณ์อ่านก็อยากให้อ่าน Palm เข้าใจและใช้อย่างที่มันเป็น ซักหน่อย พอให้รู้จักมันหน่อยครับ จะทำให้เข้าใจอย่างอื่นได้ง่ายขึ้นครับ มันอาจจะไม่ค่อยรู้เรื่องแต่อ่านผ่านๆหน่อยก็ดีครับ 55 กลับเข้ามาเรื่องเดิมครับ การ backup นั้นผมจะแบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ๆครับ คือ 1. การ backup ใน desktop และ 2. การ backup ใน card ครับ ค่อยๆมาดูกันครับ
- 1. backup ใน desktop: จะมี 2 วิธีครับ คือ
•• ใช้เจ้า Palm desktop กับ hotsync manager ธรรมดาๆนี่แหละครับ มันจะมี conduit ตัวนึงชื่อ system[หรือ backup สำหรับ Palm Desktop รุ่นใหม่ๆ] ครับ มันจะทำการ copy files จาก Palm ไปเก็บไว้ใน C:\Palm\[hotsync name]\backup และ C:\Palm\[hotsync name]\archive ครับ ส่วนของ backup ก็คือ file ทั้งหมดในเครื่องเราครับ ส่วนของ archive ก็คือ ส่วนข้อมูล(+file)ที่เราเคยลบออกไปจาก palm ทั้งหมดครับ
วิธี backup: ก็แค่ sync เฉยๆครับ มันจัดการให้เองหมดครับ
วิธี restore: ถ้าจะให้เป็น auto ก็ต้อง hard reset ก่อนครับ แล้วก็ sync ครับ แล้วมันจะ restore ให้เองทั้งหมดครับ ... แต่ไม่สามารถทำแบบ partial ได้ เว้นแต่จะเข้าไปใน folder แล้ว hotsync เป็น file กลับเข้ามาเองครับ
•• อีกวิธีก็คือ การใช้โปรแกรมอย่าง backupBuddy ในการ backup ครับ แต่แหะๆ อันนี้ช่วยไม่ได้จริงๆครับ ไม่เคยใช้ครับ และก็คิดว่าการใช้ Palm desktop จัดการก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ สำหรับการ backup บน desktop ^_^"
สำหรับวิธีนี้ข้อดีคือ ไม่ต้องทำอะไรเลยครับ sync แล้วก็เสร็จครับ แต่ข้อเสียมันก็คือ ถ้าเกิดมีปัญหาข้อมูลหาย หรืออะไร มันก็ต้องมาที desktop แล้วเอาคืนครับ ซึ่งถ้าเราต้องการเพียงบาง file มันก็จะต้องเข้าไปหาก่อนที่จะ sync ครับ ไม่งั้นมันจะเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ หรือตัวที่มีปัญหาครับ นั่นก็ทำให้เรียกว่าลำบากขึ้นแน่ๆครับ เรียกว่าน่าจะดีสำหรับ hard reset แล้ว restore ข้อมูลกลับมาอย่างเดียวครับ
2. backup ใน card: สำหรับการ backup แบบนี้ก็ใช้โปรแกรมช่วยครับ โดยจะมีมากมายหล่ะครับ แต่เท่าที่เห็นใช้กันเยอะก็ CardBackup และ RescoBackup ครับ ตัวแรกเหมาะมากครับ สำหรับเครื่องที่เก่ากว่า T|T5 ครับ ส่วนเครื่องที่ใหม่กว่าก็ต้องมาตั้ง exclusion list กันหน่อย ดูจะลำบากครับ แต่ผมว่ามันดีครับ สำหรับ RescoBackup ก็ดูแล้วจะเหมาะกับเครื่องใหม่ๆครับ เห็นโม้ว่าดีครับ ฮ่าๆ
•• CardBackup - ผมยกให้เป็นตัวที่เหมาะกับการใช้งานจริงๆครับ เหตุผลนึงที่ทำให้มันดีมากๆคือ มันใช้การเปรียบเทียบในการ backup ครับ ทำให้มันเร็วขึ้นมากครับ ดีกว่าการ copy ไปดื้อๆ ทุกครั้งครับ แถมยังสามารถตั้งตารางการ backup ได้ถึง 7 ชุดอิสระต่อกันครับ และใช้ interface ที่เข้าใจง่ายครับ ไม่ต้องอะไรมากครับ เช่น เวลา partial restore ก็ใช้สัญลักษณ์เข้าใจง่ายครับ (คือ ชี้ไปทางไหนด้านนั้นก็คือตัว update กว่า) แต่ข้อเสียบางอย่างของการที่ backup ด้วยวิธีนี้คือบางครั้งมันอาจจะไม่ update ได้ครับ จึงควรมีการลบชุด backup เพื่อให้มันได้ทำการ backup ใหม่บ้างครับ ^_^ แต่ยังไงก็ยกให้เป็นโปรแกรม backup ที่ดีที่สุดครับ
•• RescoBackup - backup ตัวใหม่ล่าสุดครับ ค่ายเดียวกับ RescoExplorer, Resco Viewer ครับ เรียกว่าเจ้าตัวนี้มันทำได้เกือบทุกอย่างครับ ทั้งรองรับ NVFS เต็มรูปแบบ ทั้งรองรับเครื่องใหม่ๆ backup ได้ทั้งแบบ Full หรือ update ก็ได้ครับ จะให้มีการบีบอัด หรือตั้ง password ก็ได้ครับ ตั้งชุด backup ก็ได้หลายชุดครับ แต่ข้อเสียสุดๆมันคือ มีอะไรเยอะไป มันก็ใช้งานยากครับ อย่างจะดูว่าชุด backup แต่ละชุด อันไหน update สุดก็ต้องกดเปลี่ยน form ทุกครั้งครับ เวลาจะ restore ก็ใช้สัญลักษณ์งงไปเลยครับ มันมีชี้ไปทางซ้ายกับขวา?? เอ..แล้วสรุปอันไหนมัน update กว่ากันหล่ะครับ 55 ต้องอ่าน manual ตลอดครับ คือ ตอน test ก็เปิดดูแล้วนะครับ แต่ตอนนี้ก็ลืมแล้ว แหะๆ หลังจากเปิดดูก็ได้ความดังนี้ครับrescob4.png
- Icon meaning left to right:
- RAM only: DB is missing in the backup set
- RAM newer: DB is newer than its copy in the backup set
- Equal: DB and its copy in the backup set are identical
- Not equal: DB differs from its copy in the backup set
- Backup newer: DB is older than its copy in the backup set
- Backup only: DB exists in the backup set only
▪ note: การเขียนข้อมูลอะไรลง card นับว่าเป็นการเปลืองพลังงานพอสมควรเลยทีเดียวครับ ดังนั้น ฮ่าๆ การ backup แบบ update เหมาะกว่าจริงๆครับ ทั้งเรื่องพลังงานและระยะเวลาครับ ส่วนการตั้งเวลา backup ถ้าไม่ได้อะไรมากมายผมแนะนำให้ตั้งตอนซักตี 3 ตี 4 ไปเลยครับ แล้วจะได้ไม่รู้สึกน่ารำคาญครับ
สำหรับของผมเองจะตั้งเป็น 3 ชุดครับ คือ
- 1. ชุดแรก: เป็นวัน Mon Wed Fri ครับ
2. ชุดที่ 2: เป็นวัน Tue Thu Sat
3. ชุดสุดท้ายก็คือวัน Sun ครับ
เอาเป็นว่าถ้าเข้าใจและใช้งาน 2 เรื่องนี้เป็น รับรองได้ว่า ไม่ว่าจะลองลบ ลง ทดสอบโปรแกรมใหม่ๆ เข้าหรือไม่เข้ากับเครื่องเรายังไงเราก็แก้ปัญหามันได้แน่นอนครับ ส่วน sequence จริงๆในการแก้ปัญหามันก็ตามลำดับครับ
- 1. Soft Reset ดู....ว่าได้รึป่าว? ถ้าได้ก็ลองโปรแกรมใหม่ ไม่ได้ก็ลบหรือหา version อื่นมาลองครับ
2. ถ้า soft reset เอาไม่อยู่ก็ warm reset แล้วลบโปรแกรมนั้นออกไปเลยครับ
3. แต่ถ้า warm reset ยังไม่ไหวก็ต้อง hard reset แล้วกู้ระบบกลับมาใหม่ครับ ... ^_^