90 KiB
layout | title | created | categories |
---|---|---|---|
post | มาเลือก notebook กันดีกว่า | 1127283665 | [notebook article] |
คราวนี้เราจะมาดูกันเรื่อง Notebook กันบ้างครับ เนื่องจากมันมีอยู่หลากหลายรุ่น หลากหลายยี่ห้อให้เลือกเหลือเกินครับ รุ่นก็หลากหลายหล่ะครับ แต่ปัญหาคือ Notebook ไม่ได้ถูก ไม่ใช่ซื้อแล้วเปลี่ยนขำ-ขำกันได้หล่ะครับ มันเลยต้องมาดูกันถึงปัจจัยต่างๆกันด้วยครับ เพื่อให้ได้ notebook ที่น่าพึงพอใจที่สุดหล่ะครับ ในความคิดผม notebook มันคือ com สำหรับพกพาเพื่อทำงาน... ไม่ใช่เล่นเกมหล่ะครับ ไม่ได้เป็นเครื่องสำหรับ gamer เลย ไม่ว่าจะเรื่องความเหมาะสมของประสิทธิภาพเครื่อง ความทนทานของอุปกรณ์อย่าง keyboard, mouse หรือแม้กระทั่งจอหล่ะครับ เอาเป็นว่าในบทความนี้จะเป็นการเลือก suitable notebook ไม่ใช่สักแต่เลือก powerful notebook แน่ๆหล่ะครับ เพราะว่าถ้าคิดจะเลือก powerful notebook ก็เอามันรุ่น top ราคาโคตรแพงก็ได้ครับ ดีหน่ะดีแน่ครับ แต่ผมแนะนำให้หา desktop spec ใกล้เคียงและก็รับประกันได้ว่าราคาถูกกว่ากันมากกว่าครึ่งนึงแน่นอนครับ ^_^"
ทั้งหมดในบทความนี้เน้นรุ่นกลางๆ หล่ะครับ เพราะว่าผมมิอาจเอื้อมใช้รุ่นสูงๆได้ ฮ่าๆ เลยไม่สามารถที่จะบอกได้นอกจากเพียงแค่หา review มาเปรียบเทียบหน่ะครับ แต่ประเด็นที่จะแสดงให้เห็นในบทความนี้ จะไม่ได้เน้นไปถึงประสิทธิภาพที่ได้กับ notebook หากแต่จะเป็นความรู้สึกที่ได้ใช้ ความแตกต่าง ความเหมือนที่แตกต่างระหว่าง notebook และ desktop มากกว่าครับ หลังจากที่ได้ลองใช้มา 2-3 ยี่ห้อมันก็มีข้อเด่นต่างๆกันไปครับ โดยจะมาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดเจน และจะได้มีมุมมองที่กว้างขึ้นก่อนที่จะเลือก notebook หล่ะครับ เป็นมุมมองที่อาจจะไม่ได้สังเกต ขณะซื้อ หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นความแตกต่างหล่ะครับ ^^
สำหรับในตลาดในเมืองไทยยี่ห้อที่เด่นๆ ก็คงจะไม่พ้น Acer จริงๆหล่ะครับ ด้วยความที่ออกมามันทุกระดับ ซึ่งก็แบ่งเป็นยี่ห้อย่อยๆหลายยี่ห้อ รวมทั้ง Visage ที่ออกมาเพื่อขนาดเล็ก ราคาประหยัดหล่ะครับ นั่นคงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Acer ทำได้ดีในเมืองไทยหล่ะครับ ... การตลาด ... เท่านั้นจริงๆครับ ส่วนยี่ห้ออื่นๆก็รองๆลงมาครับ ที่ผมจะเปรียบเทียบก็คงจะมีเพียงแค่ Acer, IBM, Toshiba และ Fujitsu หล่ะครับ เนื่องด้วยเท่าที่ได้สัมผัสก็มีแค่นี้หล่ะครับ ฮ่าๆ ซึ่งรุ่นก็อยู่ในระดับไม่ต่างกันมากเลยน่าจะพอเทียบกันได้ครับ ^^ เริ่มมาดูกันทีละ factor ครับ
Size does Matter!
สำหรับ notebook แล้ว ... สิ่งที่ไม่ควรจะมองข้ามคือ ขนาดหล่ะครับ แต่ถ้าใครคิดจะซื้อ notebook มาแทน desktop ที่บ้านก็แล้วไปครับ เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นปัจจัยรองลงไปครับ .. เรื่องขนาดของ notebook นั้นผมว่าน่าจะจัดได้แค่ 2 กลุ่มใหญ่ๆครับ คือขนาดมาตรฐาน กับขนาดเล็กครับ
- • ขนาดมาตรฐาน - ผมหมายถึงรุ่นที่มีจอขนาด 14" 15" หรือมากกว่าหล่ะครับ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีทั้งแบบปกติและ wide screen ให้เลือกมากมายหล่ะครับ ซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยแน่ใจครับ ว่ามันจะมีประโยชน์ สำหรับ widescreen กับ notebook หน่ะครับ ด้วยความที่ว่าการที่เป็น widescreen ถึงจะได้มุมมองที่กว้างขึ้นก็จริงครับ แต่ประโยชน์ใช้สอยนั้นที่เห็นได้ชัดก็น่าจะเป็นเพียงแค่ DVD หล่ะครับ หรือไม่ก็พวกใช้ตัดต่อ CAD/CAM ไปเลยซึ่งสำหรับกลุ่มหลังนั้นไม่มีทางที่จะใช้ใน notebook ครับ เพราะไม่เพียงแค่เรื่องประสิทธิภาพ.. แต่สิ่งสำคัญก็คือตัว monitor เองนี่แหละครับ .. ก็นั่นแหละครับ ดู DVD ใน notebook ผมว่าหาสาย TV-out มาต่อดีกว่าครับ แหะๆ.. ^^"
• ขนาดเล็กครับ - ซึ่งก็จะเป็นรุ่นที่จอมีขนาดประมาณ 12" ลงมาหล่ะครับ โดยส่วนใหญ่ก็ 12" หล่ะครับ เพราะว่าถ้าเล็กกว่านี้จะเป็นจอขนาดไม่มาตรฐานหล่ะครับ ก็จะเป็นเหมือนจอไม่เต็มครับ หรือจะเรียกว่า widescreen ก็คงได้มั้งครับ ฮ่าๆ สิ่งที่เป็นจุดเด่นของเครื่องพวกนี้ นอกจากขนาดเล็กก็ยังแปรผันตรงกับน้ำหนักด้วยหล่ะครับ โดยมากน้ำหนักของ notebook พวกนี้ก็จะไม่เกิน 2 kg. หล่ะครับ ซึ่งผมว่าเป็นขนาดที่กำลังเหมาะสมสำหรับการใช้งานจริงๆครับ
สำหรับขนาดที่เล็กลงนั้นก็จะต้องแลกด้วยค่าตัวของมันที่เพิ่มขึ้นพอสมควรหล่ะครับ ผมว่าก็ประมาณ หมื่นๆเศษๆหล่ะครับ ระดับราคาเริ่มต้นก็จะประมาณ 50,000฿ ครับ ก็คงต้องมาคิดๆกันดูว่า ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นขนาดนี้.. กับขนาดที่เล็กลง ทำให้เราพกมันสะดวกขึ้นนั้นเหมาะสมและคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มารึป่าวหล่ะครับ สิ่งที่ยากที่สุดก็คือตรงนี้หล่ะครับ.. ราคาที่ต่างกันพอสมควร จนอาจจะทำให้.. พาลนึกว่า เอาหน่า.. ถูกกว่า spec ยังดีกว่าเลย ก็ต้องน่าสนใจกว่าซิ ฮ่าๆ ก็ไม่ผิดที่จะคิดหล่ะครับ แต่เชื่อเถอะครับ มันคุ้มที่จะยอมเสียครับ ถ้าคิดว่าจะต้องใช้ notebook ในการทำงานเป็นประจำครับ
Monitor
หลังจากเลือกขนาดได้แล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับ notebook เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ผมว่าสำคัญที่สุดของ notebook หล่ะครับ แต่เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า LCD สำหรับ notebook นั้นมีอะไรต่างกับพวก CRT ของ Desktop หล่ะครับ สำหรับ LCD ที่ใช้ใน Notebook นั้ก็มีอยู่ 2 ประเภทหล่ะครับ ผมก็ไม่แน่ใจว่าเค้าเรียกอะไรกัน ผมเรียกมันว่าจอด้านกับจอมันแล้วกันครับ
- • จอด้าน - เป็นจอที่พบได้ทั่วไปใน notebook จะมีมานานแล้ว ถ้าใครเคยเห็น notebook มาตั้งแต่เริ่มแรก.. ผมว่าก็เกือบ 90% หล่ะครับ ที่เห็นเป็นจอแบบนี้ ข้อเสียของมันก็คือ มุมในการมองนั้นน้อยครับ กล่าวคือสีจะไม่เท่ากันหากมองต่างๆมุมกันครับ เนื่องด้วย backlight เค้าจะเป็นหลอด fluorescent เล็กๆอยู่ข้างล่าง และที่เดียวครับหล่ะครับ ซึ่งมุมที่จะให้แสงกับ LCD แล้วมาเข้าตาเราก็จะมีไม่มากครับ ดังนั้นหาจอมันไม่ค่อยตรงหน้าเรา เราก็จะเห็นมันไม่ค่อยดีนักครับ คือ แสดงจะไม่เท่ากัน แต่ backlight ที่กล่าวถึงมันก็เป็นอย่างนี้หล่ะครับ ทั้งจอสองประเภทแต่การสะท้อนของแสงมันจะต่างกันด้วยตัวกระจกของ LCD เองครับ สำหรับจอแบบด้านยังมีข้อเสียอีกข้อหล่ะครับ คือ สีที่แสดงผลของจอประเภทนี้จะ contrast ต่ำมาก... (มันก็ไม่มากเท่าไหร่ แต่ผมใช้ CRT ที่ contrast สูงๆมาก่อนหน่ะครับ เลยรู้สึกมากๆครับ) ซึ่งมีผลให้สีที่แสดงนั้นลดความสดของสีไปเยอะครับ แต่ข้อดีมากๆของมันคือ จอมันไม่สะท้อนวัตถุอื่นๆให้เห็นบนจอหล่ะครับ
• จอมัน - อันนี้คนขายเค้าบอกว่า.. ซื้อ notebook แถมกระจกหล่ะครับ ขณะปิดเครื่องอยู่จอนี่จะมันมากจนเป็นเหมือนกระจกเงาเลยหล่ะครับ สำหรับ acer เค้าเรียกว่า crystalbright หล่ะครับ แต่ยี่ห้ออื่นผมไม่ทราบหน่ะครับ ฮ่าๆ เป็นการแก้ไขจากจอด้านที่แสดงสีได้ไม่สดนัก ทำให้สีที่ได้ใกล้เคียงกับจอพวก CRT มากขึ้นหล่ะครับ ซึ่งผมว่าก็ทำได้ดีพอสมควรครับ สีที่ได้ค่อนข้างจะสดใสครับ แต่ก็ยังไม่เท่ากับ CRT สีสดๆอย่าง Philips 107P หล่ะครับ แต่..เมื่อมีข้อดี.. ถ้ามันดีจริงแบบเก่าก็ต้องหายไปหล่ะครับ แต่ยังไม่หายเพราะว่า ด้วยความที่จอมันสามารถสะท้อนแสงได้เป็นอย่างดีทำให้มุมที่มองเห็นก็ยังไม่มากนักครับ เพราะว่าหากมองมุมข้าง สีที่ได้ก็จะไม่ต่างกับมองตรงเท่าไหร่ครับ แต่กลับมีการสะท้อนวัตถุอื่นๆจากอีกมุมมาด้วยครับ ถ้ามุงกันนี่อาจจะเห็นหน้าเพื่อนได้เลยครับ ยิ่งที่ไหนมีแสงมากๆ ยิ่งกลายเป็นจะเห็นชัดมากเลยครับ เห็นหลอดไฟ หรืออย่างอื่นนะครับ ไม่ใช่หน้าจอ.. มันกลับกลายเป็นข้อเสียที่แปลกๆดีครับ อันนี้ก็คงต้องเลือกดูหล่ะครับ ว่าจะชอบแบบไหนครับ
อีกอย่างที่ควรรู้สำหรับ LCD คือ LCD นั้นจะมี response time ต่ำกว่าพวก CRT มากอยู่ครับ นี่ก็เป็นอีกประเด็นที่ทำให้มันไม่เหมาะกับการเล่นเกมแต่อย่างใดครับ เพราะว่าการเล่นเกมโดยมากแล้วจะมีการเคลื่อนที่ของรูปตลอดเวลาครับ ดังนั้นเมื่อมี response time ต่ำจะทำให้เกิดภาพซ้อนขึ้นระหว่างการเคลื่อนที่ของรูปหน่ะครับ จะเกิดขึ้นไม่นานก็จริงครับ แต่ก็ทำให้ตาเราต้องมีการปรับ focus อยู่ตลอดเวลาเหมือนกันครับ ก็ต้องดูตรงนี้นิดนึงครับ แต่ใช่ว่าจะไม่มี LCD ดีๆนะครับ เท่าที่ผมเห็นก็จะมีพวก Apple ทั้งหลายนี่หล่ะครับ ทำจอมาดีจริงๆครับ response time ต่ำและก็มีสีสดทีเดียวหล่ะครับ อ้ออีกอย่างนะครับ refresh rate ที่ต้องการปรับสูงๆบน CRT นั้นจะไม่มีผลกับ LCD นะครับ เนื่องด้วยการทำงานที่แตกต่างกันครับและภาพที่ได้ก็ไม่ได้มีเวลาในการวาดใหม่เหมือนในระบบ CRT ครับ .. เอ..จะงงมั้ยเนี่ย คือพวกจอ CRT นั้นจะใช้การยิง electron ไปที่หน้าจอหน่ะครับ ซึ่งจะเริ่มกวาดจากจอข้างหนึ่งไปยังจออีกข้างและเมื่อเต็มจอก็จะมาเริ่มใหม่ตาม refresh rate หล่ะครับ ดังนั้งเมื่อ refresh rate สูงขึ้น ก็จะกวาดเร็วขึ้นครับ ซึ่งตามปกติแล้วควรจะปรับให้สูงกว่า 75 Hz ครับ เพราะว่าจะทำให้ตาเรามองเห็นมันเป็นภาพนิ่งครับ ดีต่อสุขภาพตาเราเองครับ แต่สำหรับ LCD นั้นจะใช้หลักการต่างไปคือจะเป็นเหมือน transistor เต็มหน้าจอครับ และจะคุมด้วยการปิด-เปิด gate ครับ ดังนั้นจะทำให้ LCD ไม่มีปัญหาการกระพริบหล่ะครับ ^^
อีกอย่างที่เรียกว่าน่าสนใจแต่ไม่ค่อยมีใครสนใจหล่ะครับ คือ LCD นั้นจะมี resolution ที่เป็นแบบ fix นะครับ ไม่เหมือน CRT ที่จะปรับได้ครับ .. ถ้าใครจะเถียงว่าก็ปรับ resolution ได้นี่นา ก็ถูกหล่ะครับ แต่ปรับได้แค่ software หล่ะครับ สำหรับ hardware มัน fix ครับ ลองสังเกตกันง่ายๆครับ จอขนาด 12" ปกติจะมี resolution อยู่ที่ 1024px768px เป็นมาตรฐานอยู่แล้วหน่ะครับ ถ้าเราปรับเป็น 800px600px .. เราจะเห็นมันไม่เต็มจอหล่ะครับ แต่ถ้าหากเต็มจอ font หรือรูปก็จะไม่ชัดครับ ที่ไม่ชัดนั้นคือว่า เป็นการทำงานของ software ครับ โดยจะเป็นการปรับจาก 1 pixel ของยนาดที่เราปรับเป็น อาจจะ 1.5 pixel ของ LCD ครับ นั่นก็เลยเป็นผลให้ภาพที่ได้ไม่คมชัดครับ เหมือนกับการ zoom รูปหน่ะครับ เป็น function ที่น่าจะมีกับทุกเครื่องครับ เปิด/ปิดได้ใน BIOS หล่ะครับ น่าจะประมาณ "video compensation" นะครับ ยังไงมันก็ไม่ชัดหรอกครับ อย่างที่บอกไปข้างต้นครับ สำหรับพวก notebook ขนาดเล็กนั้นจอก็ประมาณ 12" ยังไงก็ควรลองเปลี่ยนป็น 1024px768px ดูครับ ถ้าเปลี่ยนแล้วเกินจอ.. ก็เปลี่ยนรุ่นเถอะครับ ส่วนพวก notebook มาตรฐานที่จอประมาณ 14" 15" ก็จะมีทั้งแบบ 1024px768px และมากกว่าหล่ะครับ ยิ่งจอมี resolution สูงขึ้นก็จะละเอียดขึ้นหล่ะครับ เพราะขนาด pixel จะเล็กลงด้วยหน่ะครับ ทำให้เราสามารถปรับเป็น resolution ต่ำลงได้โดยที่ภาพยังคงความคมได้มากกว่าครับ ซึ่ง spec ตรงนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเค้าบอกกันหล่ะครับ เหอๆ ก็คนส่วนใหญ่ไม่สนหน่ะครับ ทั้งที่สำคัญทีเดียวครับ
เหอๆ อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากๆ ตอนซื้อ.. คือ bad pixel ซึ่งก็คือ transistor ที่ทำงานผิดพลาดนั้นเองครับ .. เพราะว่าเมืองไทยเรา..มักจะห่วยเรื่องบริการอยู่แล้วครับ ก่อนซื้อเราเป็นนาย แต่ซื้อไปแล้วเราก็แค่เคยเป็นนายหล่ะครับ ฮ่าๆ ตรวจสอบให้ดีนะครับ ... ถ้าจะให้ดีก่อนออกจากร้านดูอีกซักรอบครับ.. ดูแล้วดูอีกเถอะครับ.. แล้วจะไม่เสียใจครับ จริงๆ วิธีง่ายๆก็คือ เปลี่ยนเอา wallpaper ออกแล้วเปลี่ยนสี desktop เป็นขาวและดำครับ.. ลองดูให้ทั่วๆครับ ลอง restart เครื่องใหม่ก็ได้ครับ เพราะว่าขณะ restart จอก็มักจะดำอยู่แล้ว ก็จะสังเกตได้ง่ายพอสมควรครับ
สุดท้ายก่อนซื้อ แนะนำให้เปิดเทียบกันหลายๆเครื่องเลยครับ.. ถ้าเทียบกับ CRT หรือที่คุ้นเคยได้ยิ่งดีครับ เพราะสีของ LCD แต่ละยี่ห้อมันจะแตกต่างกันไปครับ บางตัวสีขาวอาจจะไม่ขาวจริงๆครับ คืออาจจะอมเหลือง หรืออมฟ้าหน่ะครับ เพราะแต่ละตัว Color Temp. มันไม่เท่ากันหน่ะครับ มันปรับไม่ได้นะครับ ไม่เหมือนกับ CRT ที่มันปรับได้ครับ เลยไม่ค่อยมีปัญหาน่ารำคาญใจเท่าไหร่ครับ ;p
Spec
สำหรับเรื่อง spec หลายๆคนอาจจะให้ความสำคัญกับมันมากนะครับ แต่ในมุมมองผมกลับมองต่างออกไปครับ ผมกลับคิดว่า spec กับ notebook นั้นเป็นสิ่งที่สามารถแยกความแตกต่างยากมากครับ กล่าวคือ การทำงานของ CPU ใน notebook นั้นต่างกับใน desktop อยู่พอสมควรนะครับ ยกตัวอย่างเป็นฝั่ง Intel ก่อนละกันครับ การทำงานของ Pentium M ที่ทำงานที่ความถี่ 1.4GHz นั้น ก็ไม่ได้ทำงานที่ความถี่นี้ตลอดหล่ะครับ จะปรับเปลี่ยนไปตามพลังงานที่ใช้ครับ คือ ในกรณีปกติแล้วถ้าเสียบปลั๊กไปเล่นไป การทำงานของ CPU ก็จะอยู่ที่ 1.4 GHz ตลอดหล่ะครับ แต่หากออกนอกสถานที่ใช้งาน การทำงานของ CPU นั้นก็จะปรับเปลี่ยนไปเป็นระดับอื่นครับ ซึ่งอาจจะอยู่ที่ประมาณเพียง 600MHz ด้วยซ้ำไปหล่ะครับ การทำงานอย่างนี้สำหรับ Intel จะเรียกว่า SpeedStep Technology หล่ะครับ ตัว Technology นี้จะเป็นการปรับความถี่ของ CPU ให้สอดคล้องกับพลังงานหล่ะครับ เรียกว่าแทบจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ notebook เลยหล่ะครับ การทำงานของ speedstep นั้นจะเป็นการปรับตัวคูณของ CPU ให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นตาม Power Management Profile หรือการใช้งานในช่วงขณะนั้นหล่ะครับ ส่วนอีกฝั่งคือ AMD ก็จะเรียก Technology นี้ว่า PowerNow! หล่ะครับ ซึ่งความแตกต่างของทั้ง AMD และ Intel ต่างกันตรงที่ว่า PowerNow นั้นเป็นการปรับแบบ fully automatic เลยหล่ะครับ แม้จะเป็น external power แต่การทำงานของ CPU ยังปรับตามใช้งานจริงตลอดครับ ซึ่งการทำงานแบบนี้มันมีทั้งดีและไม่ดีหล่ะครับ สำหรับข้อดีก็คือจะเร็วแต่ก็ยังประหยัดแม้ระดับพลังงานจะมีแค่ไหนก็ตามครับ แต่ในทางกลับกันในเรื่องของการประหยัดพลังงานก็จะด้อยกว่า Speedstep ของ intel ครับ เนื่องด้วย speedstep พี่แกใช้การตั้งเป็น profile ครับ ซึ่งแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงความถี่อยู่ก็เถอะครับ แต่ก็จะอิงความถี่ต่ำเพื่อประหยัดพลังงานมากกว่าครับ ทำให้มันก็ช้ากว่าแต่ก็อึดกว่าครับ ดังนั้น CPU ที่ต่างรุ่นกันก็จะเห็นความแตกต่างในเรื่องความเร็วน้อยหล่ะครับ เลยไม่น่าจะเอามาเป็นประเด็นหลักในการเลือกครับ ..
• note: แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- AMD PowerNow!
แต่สิ่งที่สำคัญกลับเป็นชนิดของ CPU ครับ ไม่ใช่ความถี่.. เพราะว่าสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันระหว่าง notebook และ desktop โดยเฉพาะเรื่องพลังงานจะต่างกันมากๆครับ แต่ก็ยังมีที่จะใช้ CPU ที่ก้ำกึ่งระหว่าง Desktop กับ notebook มาใช้กับ notebook หล่ะครับ ซึ่งการทำเช่นนี้ก็ตามปกติครับ มีทั้งดีและเสีย ดีก็คือเร็วจริงๆครับ แต่เสียก็คือมันกินจุครับ ไม่ค่อยมี technology เรื่องอดอาหารหล่ะครับ สำหรับ Intel ถ้าจะสังเกตง่ายๆก็คือ ดูที่ตรา Centrin• หรือ Sonoma หล่ะครับ เพราะว่าตามมาตรฐานของ Centrin• จะเป็น Pentium M ซึ่งก็ย่อมาจาก Mobile หล่ะครับ ซึ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงาน และก็ต้องมี Wireless LAN ด้วยหล่ะครับ ส่วน Sonoma นั้นก็เป็นรุ่นต่อมาหล่ะครับ ซึ่งจะต่างกันที่ CPU รุ่นใหม่ขึ้น L2 cache มากขึ้นและก็เปลี่ยน chipset หล่ะครับ ในส่วนของ AMD นั้นก็ดูไม่ยากครับ คือจะเป็นชื่อรุ่นเดียวกันหล่ะครับ เพียงแค่มี Mobile มาตามหลังให้รู้ครับ ว่านี่ออกแบบมาเพื่อ notebook นะ ซึ่งสำหรับทางเลือกในตอนนี้แล้ว AMD ดูจะมีภาษีดีกว่าหล่ะครับ คือ เข็นตัว 64-bit มาลง notebok ในนาม AMD Turion 64 Mobile Technology ซึ่งมีประสิทธิภาพยากที่จะสู้ได้หล่ะครับ แม้ว่าจะเป็น 64-bit ที่ยังไม่ได้ใช้ 64-bit จริงๆ แต่ดันทำหน้าที่ 32-bit ดีกว่า CPU 32-bit จริงๆด้วยซ้ำหล่ะครับ แต่สิ่งสำคัญก็คือ อย่าลืม update driver PowerNow ด้วยหล่ะครับ ... เพราะว่า Intel เค้าคงมีกำลังภายในใน Microsoft มากกว่าหล่ะครับ หุหุ เลยทำให้ compatible ได้โดยไม่ต้องการอะไรเพิ่ม อิอิ
• note: PowerNow! สำหรับ winXP มีปัญหาโดยต้องการ update driver หรือ update เป็น service pack 2 นะครับ ตาม link นี้ครับ
สิ่งต่อมาที่เรียกว่าค่อนข้างน่าสนใจหล่ะครับ คือ RAM สำหรับทุกวันนี้ผมว่าอย่างน้อยก็ควรจะเป็น 512 MB หล่ะครับ ซึ่งจะเป็น DDR หรือ DDR2 ก็คงต้องขึ้นกับ spec ของแต่ละเครื่องหล่ะครับ เอาเป็นว่าเน้นที่ RAM มากไว้ก็ดีกว่าหล่ะครับ งานนี้ เพราะว่าส่วนใหญ่แล้ว Video Card ของ Notebook มักจะ share memory จาก main memory อยู่แล้วด้วยหน่ะครับ ส่วนจะเป็นการ์ดจอยี่ห้ออะไร.. ของใคร มันก็มีแค่ Intel, ATi, nVidia หล่ะครับ เท่าที่ผมเห็นอันนี้ผมว่ามันก็แปรตามราคาหล่ะครับเลยไม่รู้ว่าจะเอามาเป็นประเด็นหลักทำไมครับ เพราะถึงจะเป็น Intel ... เทียบกับ ATi รุ่นใหญ่ๆ แต่ถ้ามาใช้งาน word ตบแต่งรูปเล็กๆน้อยๆ ก็มองแทบไม่เห็นหล่ะครับ เพิ่ม RAM ไปเลยยังจะเห็นมากกว่าครับ จุดนี้
ส่วน Harddisk ของ notebook ปัจจุบันเท่าที่ทราบจะไม่มีรุ่น 7200rpm แล้วนะครับ คงเพราะร้อนไปหล่ะครับ ก็เลยกลายเป็นเพียงแค่ความจุเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมครับ ส่วนจะเป็น CD-DVD จะเป็น reader หรือ writer ก็คงขึ้นกับแค่ความต้องการใช้งานหล่ะครับ
ในเรื่องของ spec กับ notebook ราคากลางๆนั้นจริงๆแล้วก็คงมีให้เลือกไม่มากด้วยหล่ะครับ เว้นแต่จะเลือกเป็น notebook ขนาดมาตรฐานก็คงจะมี spec ให้เลือกกันพอสมควรตามแต่ยี่ห้อ รุ่นในช่วงนั้นๆหล่ะครับ แหะๆ ก็ยังยืนยันเหมือนเดิมจริงๆครับ ว่ามันไม่ใช่ประเด็นหลักจริงๆครับ สำหรับ Spec ของ Notebook เพราะความแตกต่างน้อยจริงๆครับ ก็คงเพียงแค่เพิ่ม RAM ให้เป็น 512 MB เป็นอย่างน้อยก็ ok แล้วหล่ะครับ ^^
Design & Material
ฮ่าๆ เอาหล่ะครับ มาถึงที่อยากจะเขียนจริงๆแล้วหล่ะครับ คราวนี้จะเน้นความรู้สึกจริงๆแล้วหล่ะครับ หลังจากที่จะดูวิชาการไปหน่อย แหะๆ คราวนี้จะมาเป็นการเทียบกันจริงๆแล้วหล่ะครับ สำหรับ notebook แล้วเท่าที่สัมผัสมาเรียกว่าเกือบทุกยี่ห้อหล่ะครับงานนี้ ดูแล้วเหมือนกันไม่มีผิดหล่ะครับ เพราะวัสดุที่ใช้ก็พลาสติกธรรมดาไม่หนาไม่บางหล่ะครับ ส่วนล่างก็จะหนากว่าพอสมควรหล่ะครับ แต่ส่วนที่เป็น LCD นั้นใช้พลาสติกบางๆ จริงๆหล่ะครับ เรียกว่าแค่ให้มันพอมีอะไรปิด LCD ไม่ให้มันกระทบกระเทือนมากๆเท่านั้นจริงๆหล่ะครับ เท่าที่เห็นก็เป็นอย่างนี้ทุกยี่ห้อนะครับ.. เว้นแต่.. IBM หล่ะครับ ด้วย design ที่ไม่แตกต่างกันเลยทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็ก แถมวัสดุก็ไม่ต่างกันจริงๆครับ เพียงแค่จับก็รู้สึกถึงความแน่นของมันจริงๆครับ ไม่ว่าจะส่วน Keyboard หรือ Mainboard หรือส่วน LCD ก็ยังทำได้แข็งแรงดีมากๆเลยครับ ลองมาดูกันชัดๆเลยครับ
จากรูปด้านซ้ายซึ่งเป็น Fujitsu นะครับมาเทียบกับ IBM ด้านขวาจะสังเกตเห็นชัดเจนจริงๆครับ แค่การออกแบบก็แทบจะต่างกันโดยสิ้นเชิงแล้วครับ ทาง Fujitsu จริงๆ ก็เป็นตัวแทนของ notebook ทั่วไปหล่ะครับ ผมว่าก็เป็นอย่างนี้กันส่วนใหญ่อยู่แล้วครับ การออกแบบแบบนี้เป็นการออกแบบเพื่อความสวยงาม ต้องการทำให้ดูเหมือนมันบางลงหน่ะครับ ต่างกับทาง IBM จริงๆครับที่ออกแบบมาได้แบบว่าบึกบึนเป็นสันเพิ่มขึ้นมาทั้งแข็งแรงขึ้นและจะสังเกตได้ว่าทำลึกพอสมควรครับ ทำให้เวลาเปิดนั้น โอกาสที่นิ้วจะไปโดนหน้าจอน้อยมากครับ รวมทั้งยังแข็งแรงจริงๆครับ
อีกส่วนที่ยังแสดงให้เห็นว่า IBM นั้นทำ notebook ได้เพื่อความคงทน แข็งแรงจริงๆหน่ะครับ นั่นก็คือ ส่วนที่น่าจะเป็นส่วนที่เปราะบางที่สุดครับ คือ ข้อพับระหว่างจอกับเครื่องนั้นเองครับ ลองมาดูกันครับ ว่าเป็นอย่างไร
นี่แหละครับ ที่เอาให้ดูเกือบทุกยี่ห้อก็เหมือนๆกันหล่ะครับ เหลือก็แต่ IBM จริงๆครับ ดูความแข็งแรงของมันได้ครับ เพียงแค่รูปก็บอกได้ทุกอย่างจริงๆครับ งานนี้ ^^
:: Keyboard ::
ที่เอาเรื่องนี้มาด้วยก็เพราะว่าผมเป็นคนนึงที่ใช้ keyboard มากกว่า mouse หล่ะครับ ไม่จับ mouse ก็จะไม่ จะพยายามใช้ keyboard shortcut มากกว่าหน่ะครับ ทำให้ตำแหน่งของปุ่มต่างๆนั้นมีความสำคัญอย่างมากเพราะอย่างน้อยความคุ้นเคยมันสำคัญ ทำให้ไม่กดพลาด และเร็วครับ ด้วยความที่ keyboard นั้นมีแบบและขนาดมาตรฐานอยู่แล้วแต่ขนาดมาตรฐานนั้นไม่มีทางที่จะลงใน notebook ได้หล่ะครับดังนั้นแต่ละยี่ห้อก็จะวางตำแหน่งต่างๆกันไปหล่ะครับ รวมไปถึง mouse ที่ยังต้องรวมให้เรียบร้อยซะด้วยซิ จะวางยังไงหล่ะครับ เนี่ย~ ค่อยๆมาดูกันครับ แต่ประเด็นสำคัญ มันมีไม่กี่ปุ่มหรอกครับ เพราะพวกตัวอักษรก็ต้องวางตำแหน่งเหมือนๆกันให้เป็นมาตรฐานเวลาพิมสัมผัสอยู่แล้วครับ ^^
- • พวกสีฟ้า จะเป็น พวก F1-F12 และพวก Print Scrn-Pause และ Insert-PageDown หล่ะครับ
• พวกสีเขียว จะเป็นปุ่ม Fn ครับ
• ส่วนสีเหลือง จะเป็นปุ่ม windows ครับ
ส่วนกลุ่มต่อมานั้น.. เป็นกับคนอื่นมั้ยไม่ทราบนะครับ แต่ผมไม่ชอบใช้ Fn มาอยู่ตรงมุมอย่าง IBM และ Fujitsu เลยหล่ะครับ น่าจะทำแบบ Acer มากกว่าเพราะ Ctrl เป็นปุ่มที่ใช้กับ shortcut ค่อนข้างมากหน่ะครับ และผมก็ชินกับที่มันอยู่ตรงมุมจริงๆครับ ^^"
ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มที่เรียกว่า.. Designed for Microsoft Windows หล่ะครับ 555 มันเป็นปุ่มที่ได้ใช้จริงๆครับ ก็ยังไงเราๆก็ยังติดกับ Microsoft ฮ่าๆ ปัญหาคือ IBM ก็ไม่มี..เพราะพี่แกไม่สนใจ Microsoft ครับ ทำให้ชีวิตลำบากขึ้นพอสมควรครับ แหะๆ แต่ Acer ก็แบบว่า ไปวางปุ่ม properties ไว้ซะ..แบบว่าเอาออกดีกว่ามั้งครับ แหะๆ ไม่ไหวๆครับ .. แต่ไม่ใช่ว่า Fujitsu ดีที่สุดครับ จุดที่ผมจะติจริงๆคือ Shift ด้านขวาครับ ด้วยภาษาไทยเป็นภาษาที่จำเป็นต้องใช้ Shift มากหน่ะครับ ปุ่มตรงนี้มันเล็กไปจริงๆครับ น่าจะทำแบบ IBM ไปเลยจริงๆครับ เพราะผมกดพลาดประจำเลยหล่ะครับ ซึ่งจริงๆแล้วถ้าจะมองกันในมุมมองฝรั่งก็น่าจะพอทนหล่ะครับ เพราะยังมีอีกปุ่มตรงฝั่งซ้าย แต่ว่าฝรั่งเค้าไม่ค่อยมีความจำเป็นต้องกดเหมือนเรานี่ครับ อันนี้เลยต้องบ่นนิดนึงครับ ^^"
ส่วนเรื่องความรู้สึกในการใช้งานก็เหมือนกับว่าซื้อ keyboard 100฿ กับ Logitech 400฿ มาใช้ถ้าใครไม่รู้สึกต่างกันก็คงจะไม่เข้าใจมั้งครับ แหะๆ ความนิ่มของปุ่มที่กดผมยกให้ IBM จริงๆครับ ผมว่าเค้าทำดีครับ คงเพราะอีกเรื่องคือ IBM เค้าทำปุ่มค่อนข้างนูนครับ ต่างกับ Keyboard notebook ทั่วไปครับ ที่ออกจะแบนราบมากกว่าครับ คงเพราะอานิสงค์ของจอที่ทำเป็นหลุมลึกลงไปด้วยหล่ะครับ เลยทำให้ keyboard นูนขึ้นได้อีกซักหน่อยเลยทำให้รู้สึกดีเวลาพิมมากกว่า keyboard ตัวอื่นหล่ะครับ แหะๆ ลองมาดูรูปให้พอเห็นภาพครับ
:: LED/LCD Status ::
ด้วยความแตกต่างในการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ ทำให้มันมีทั้งด้านดีและก็ไม่ดีหล่ะครับเรามาดูกันก่อนครับ ค่อยว่ากัน
นี่แหละครับ เรามาวิเคราะห์กันดูครับ ว่าเค้าออกแบบมานี่.. ได้สนใจอะไรบ้างรึป่าวครับ?? ฮ๋า สำหรับ Acer การที่ใช้ LED แบบนี้เป็นตัวแสดงสถานะมันก็ดีจริงครับ.. แต่.. ทั้งสองตำแหน่งนี้จะอยู่ในแนวเดียวกันด้วยซ้ำครับ คือบนเครื่องเลยครับ และด้วยการทำอย่างนี้ทำให้แสงจาก LED สว่างไปครับ สว่างไปจริงๆครับ มันจะแยงตาครับ เพราะมันจะส่องขึ้นบนครับ อาจจะคิดว่าคิดไปเองรึป่าว แต่ไม่รู้ซิครับ ผมค่อนข้างรู้สึกอะไรแปลกๆอย่างนี้หล่ะครับ แถมการวางของทั้งสองที่นั้นไม่ได้มีประโยชน์เลยครับ เพราะว่าเมื่อปิดเครื่องก็แทบไม่เห็นอยู่ดีครับ แหะๆ เอามันวางที่เดียวกันไปเลยซะดีกว่าครับ และการวางแบบนี้ เวลาแสงน้อยก็มองไม่เห็นอยู่ดีครับ ว่ามันคือสถานะอะไร เรียกได้ว่าธรรมดา ไม่มีแบบพิถีพิถันเลยหล่ะครับ เหอๆๆ
มาดูกันในส่วนของ Fujitsu อันนี้มาแปลกครับ ใช้ LCD แทนเป็นรูปสวยงามครับ.. ดีหน่ะดีที่เห็นชัดเจนครับ เข้าใจง่าย สวยกว่า LED เฉยๆแน่อยู่แล้วครับ .. ซึ่งก็แน่ที่จะไม่มีปัญหาเรื่องแสงแยงตาจาก LCD หล่ะครับ เพราะมันไม่มีแสง.. แต่ก็เพราะด้วยความที่มันออกแบบได้อยู่ลึกว่า body มันพอสมควรหล่ะครับ เลยทำให้มันดูยากขึ้นนิดนึง .. สิ่งสกปรกเข้าไปได้ง่าย แต่เอาออกยากครับ และก็ยังมองไม่เห็นเมื่อมีแสงน้อยอีกต่างหากครับ เรียกได้ว่าถ้ามี backlight ด้วยจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์หล่ะครับ
คราวนี้มาส่วน IBM ครับ ที่ต้องวางไว้ 2 รูปเลยเพราะว่ามันอยู่คนละทีกันเลยครับ คือ.. เราจะเห็นมันได้แค่ทีละรูปจริงๆครับ 55 รูปแรกคือตอนเปิดเครื่อง.. อิอิ รูปสองคือตอนปิดเครื่องครับ ถึงแม้จะใช้ LED ในการแสดงก็เถอะครับ แต่จะมี mask มาปิดเพื่อให้แสดงได้เป็นรูป ชัดเจนในการสื่อความหมายขึ้นครับ เรื่องนี้เรียกว่าทำได้ดีครับ และมากไปกว่านั้นการวางตำแหน่งของ IBM เค้าดีจริงๆครับ คือวางไว้ที่ระนาบเดียวกับจอ ทำให้แสงที่ส่องจาก LED นั้นจะอยู่ในค่อนข้างราบ นั่นก็แน่นอนว่าไม่มีทางมาแยงตาเราหล่ะครับ แต่ก็ยังมองได้ชัดเจนครับ อีกส่วนคือแม้ปิดเครื่องแล้วก็ยังมี status บอกเราอีกต่างหากครับ ว่า standby mode อยู่นะ หรือบอกได้ครับ ว่า charge เต็มรึยัง เรียกว่าให้เต็มๆครับ IBM ทำดีจริงๆครับ
ปล. LED นั้นจะสองแสงเป็นเหมือน beam ครับ มันจะสว่างสุดๆแค่มุมเดียวหน่ะครับ คิดเอาว่าเป็นอารมณ์เหมือน laser เพียงแค่มันไม่สว่างเท่าและมีการกระจายตัวมากกว่า laser เยอะหน่ะครับ ลองดูไฟจราจรแบบใหม่แล้วจะเข้าใจครับ คือถ้ามองมันตรงๆนี่จะแสบตามากๆครับ แต่ด้วยความที่มันส่องแสงเป็น beam มันเลยไปได้ไกลกว่า ทำให้เห็นได้ชัดกว่า แถมประหยัดไฟกว่าแบบหลอดเยอะครับ เค้าถึงเอามาทำเป็นไฟเขียว-ไฟแดง ฮ่าๆ นอกเรื่องเลยเรา~ แต่มันก็เป็นประเด็นนึงที่ก็น่าสนใจครับ ในการออกแบบ
:: build-in Mouse ::
ที่เป็น topic คงเป็นแค่ mouse ของ IBM หล่ะครับที่หลายๆคนไม่ชอบกันครับ เป็นแบบที่เรียกว่าน่าจะไม่มีใครใช้แล้วมั้งครับ ส่วน IBM นั้นก็จะใช้ในทุก series ครับ เหลือเพียงแค่ R-series หล่ะครับ ที่ใช้ mouse แบบคนอื่นเค้าหน่ะครับ แบบนี้เป็นแบบที่เรียกว่าใช้แล้วเมื่อยที่สุดจริงๆครับ เพราะต้องกดด้วยนิ้วเดียวหล่ะครับ ไม่ค่อยจะได้ผ่อนคลายเลยครับ แต่ในทางกลับกันปุ่ม mouse ของ IBM ผมว่ามันนิ่มๆจริงๆครับ แหะๆ เอาพวก keyboard กับปุ่ม IBM ไปใส่ยี่ห้ออื่นได้มั้ยเนี่ย~~
ด้วยการออกแบบที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงเลยครับ ทำให้ mouse ของ IBM ก็ยังเหมือนเดิมก็ยังเป็นส่วนนึงที่ทำให้คนไม่ชอบอยู่เหมือนเดิมครับ 55 เอาเป็นว่ามันเป็นข้อเสียสุดๆจริงๆครับ แต่มันก็ชดเชยด้วยการแถม mouse สวยๆ ให้มาใช้แทนหล่ะครับ
ผมว่าสำหรับ USB mouse ของ IBM ตัวนี้ใครเห็นก็อยากได้หล่ะครับ ฮ๋าๆ ;p มาดู build-in mouse ของยี่ห้ออื่นกันครับ ว่ามันมีประโยชน์ยังไง ทำไมถึงดีกว่าหล่ะ?
mouse แบบนี้ไม่เพียงแต่จะใช้สบายกว่าของ IBM แต่ก็ยังมีลูกเล่นที่ทำให้ใช้งานสะดวกขึ้นอีกหลายอย่างหล่ะครับ เลยเป็นที่นิยมครับ ด้วยความที่มีพื้นที่ไม่มากในการสัมผัสเลยทำให้เหมือนจะมีข้อจำกัดในการเลื่อน cursor หล่ะครับ แต่จริงๆแล้วระยะของ cursor ที่เคลื่อนที่ยังสัมพันธ์กับความเร็วที่เราสัมผัสด้วยครับ ลองดูง่ายๆครับ วาง cursor ตำแหน่งหนึ่ง แล้วลากนิ้วด้วยความเร็วปกติจากมุมนึงถึงอีกมุมนึงครับ ทดสอบอีกครั้งโดยการลากนิ้วเร็วๆครับ จะเห็นได้ว่าระยะทางของ cursor ต่างกันพอสมควรหล่ะครับเรียกว่าสามารถควบคุมได้ทั้งจอหล่ะครับ โดยที่ไม่ต้องยกนิ้ว เพียงแค่ต้องใช้ให้มันคุ้นเคยซักหน่อยครับ ส่วนการ double-click ก็สามารถเคาะๆนิ้วได้เลยครับ ไม่ต้องกดปุ่มเลย ซึ่งทำให้ mouse แบบนี้แม้จะสะดวกสู้แบบ external ไม่ได้แต่ก็พยายามอำนวยความสะดวกได้ระดับนึงหล่ะครับ ^^
นั่นแหละครับ ก็ยังไม่หมดครับ ยังมีลูกเล่นอีก ซึ่งถ้าเป็น ibook ก็จะสามารถ scroll ทั้งทุกทิศทางเลยหล่ะครับ และสำหรับบางยี่ห้อก็จะมีความสามารถเพิ่มเติมเมื่อลง driver อีกเช่นกดที่มุมๆจะเป็นการปิดหรือ minimize window นั้นๆ อีกด้วยครับ ^^ เรียกว่าลูกเล่นเหนือกว่ามากครับ แถมยังเมื่อยไม่มากเท่าของ IBM หล่ะครับ
การใช้งานจริง
เท่าที่ลองใช้ทั้ง Intel และ AMD นะครับ ผมว่า AMD ทำดีกว่าครับ ในเรื่องความเร็วหล่ะครับ คงเป็นเพราะ PowerNow! หล่ะครับ ที่ผมว่าทำได้ดีกว่า SpeedStep ของ Intel หล่ะครับ เปิดโปรแกรมไม่มีอึดอาดให้เห็นหล่ะครับ ต่างกับ SpeedStep ของ Intel ถ้าปรับ PowerScheme เป็น Portable/Labtop และไม่ได้เสียบปลั๊กนะครับ เรียกว่า เปิด photoshop กันแบบรอนานกว่า AMD เห็นๆหล่ะครับ ผมใช้เครื่องรุ่นใกล้ๆกันนะครับ ทำงานที่ความถี่ 1.4-1.5 GHz ทั้งสองรุ่นหล่ะครับ แต่ปัญหาก็คือ PowerNow! คงจะเน้นประสิทธิภาพมากกว่าหล่ะครับ ทำให้ระยะเวลาในการใช้งานก็จะน้อยกว่าเครื่องพวก Intel พอสมควรหล่ะครับ ก็คงต้องชั่งใจเอาหล่ะครับว่าจะเลือกแบบไหนครับ .. ถ้าให้ผมเลือกผมก็เลือกไม่ถูกหล่ะครับ .. คงดูเรื่องอื่นมากกว่าหล่ะครับ ฮ่าๆๆ.. แต่ที่เห็นชัดๆในเรื่อง notebook นั้นคือ RAM ครับ ถ้าจะใช้ XP นี่ยังไงอย่างต่ำก็ต้อง 512 MB จริงๆครับ ไม่งั้นจะทำให้ช้าหล่ะครับ ในความรู้สึกผม... ส่วนการตั้งค่าแนะนำให้ปิดพวก function ความสวยงามให้หมดและก็ตั้ง color quality ไว้ที่ 16bit ก็พอครับ เพราะว่ามากกว่านี้มันสวยขึ้นก็จริงครับ แต่ว่าสำหรับ LCD นั้นมันเห็นไม่ชัดเจนครับ ผมว่าแค่ 16bit ก็พอครับ แถมยังทำให้ไม่ต้องไปหนักด้านการแสดงผลมากมายด้วยครับ ^^"
:: Heat ::
อันนี้เป็นสิ่งสำคัญครับ ของ Notebook เพราะเมื่อ CPU เร็วขึ้น Harddisk เร็วขึ้น CD-ROM drive เร็วขึ้น มันก็แน่หล่ะครับ ที่ความเร็วทั้งหลาย มันก็มาพร้อมกับความร้อนที่เพิ่มขึ้นด้วยหล่ะครับ ที่จะเห็นได้ชัดคือการหายไปของ Harddisk 7200rpm ของ notebook หล่ะครับ ด้วยความที่มันทำให้เกิดความร้อนมากหน่ะครับ ถึงแม้จะเร็วขึ้นมากก็จริงแต่ก็ได้ไม่คุ้มเสียหล่ะครับ งานนี้ ซึ่งถ้าเป็น desktop ธรรมดามันก็แน่ครับ ว่าเรื่องความร้อนไม่ใช่ปัญหาหล่ะครับ เพราะด้วยขนาดของ case ที่ใหญ่โตพอจะถ่ายเทความร้อนได้หน่ะครับ แต่ notebook นั้นไม่ได้มีที่มากมาย ยังโชคดีที่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี heatpipe เข้ามาช่วยก็ทำให้มันถ่ายเทความร้อนได้ดีขึ้นหล่ะครับ รวมทั้ง CPU ที่มีเทคโนโลยีประหยัดพลังงานมากขึ้น transistor ก็เล็กลงเรื่อยๆ ก็เลยสามารถทำให้ notebook เล็กลงได้โดยที่ยังสามารถถ่ายเทความร้อนได้ทันหน่ะครับ ซึ่งในกรณีที่ notebook มีขนาดใหญ่พอสมควรก็จะทำให้ถ่ายเทได้สะดวกขึ้นหล่ะครับ ใส่พัดลมตัวนึงก็ ok หล่ะครับ ทำให้เราแทบไม่รู้สึกถึงความร้อนที่เกิดขึ้น หรือรู้สึกก็เพียงนิดเดียวหล่ะครับ แต่สำหรับ notebook ขนาดเล็กสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับด้วยก็คือ ความร้อนที่เกิดนั้นไม่สามารถจะระบายออกได้หมด จึงทำให้เป็นเหมือนว่าใช้ case เป็น sink แทนไปด้วยจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็เถอะครับ ถึงมันจะไม่ได้มีข้อเสียอะไร เพียงแค่รู้สึกว่าร้อน แต่ความจริงแล้วก็มีผลกับอายุการใช้งานด้วยหล่ะครับ ^^ ที่จะบอกก็เพียงแค่จะบอกถึงทุกมุมมองที่รู้สึกได้ในความแตกต่างของ notebook แต่ละขนาดหล่ะครับ
:: Extra button ::
ด้วยการออกแบบที่ไม่เหมือนกันของแต่ละยี่ห้อครับ ทำให้ความสะดวกก็ต่างกันด้วยครับลองมาดูบางยี่ห้อครับว่ามีอะไรทำให้ชีวิตง่ายขึ้นบ้างครับ
IBM
มาดูกันที่ IBM ก่อนเลยครับ สำหรับ IBM นี้จะไม่ค่อยมีปุ่มพิเศษหล่ะครับ มีเพียงตามรูปหล่ะครับ มีปุ่ม access ibm ก็เพื่อเข้าหน้า BIOS หล่ะครับ ส่วนพวก volume ต่างๆก็ตามรูปหล่ะครับ ไม่ได้มีอะไรพิเศษจริงๆครับ
พอมาดูในเรื่องปุ่ม Fn + ? กันครับ.. สำหรับ IBM มีให้เล่นเต็มครับงานนี้ เรียงลำดับกันเลยนะครับ ปิดหน้าจอ, Standy mode, WiFi on/off, Switch หน้าจอ, Hibernate, เพิ่ม/ลด brightness, เปิด/ปิดไฟส่อง keyboard และที่แปลกมากๆก็คือ Back และ Forward หล่ะครับ ตรงที่อยู่ที่แถวลูกศรหน่ะครับ
ที่เด่นๆและไม่มีในเครื่องอื่นก็ปิดหน้าจอ, Hibernate และเปิด/ปิดไฟส่อง keyboard ผมว่ามันเด่นๆจริงๆครับ เรียกว่า บางฟังก์ชั่นมันก็อำนวยความสะดวกกว่าเครื่องอื่นมากจริงๆครับ มาดูไฟส่อง keyboard ยามไม่ค่อยมีแสงกันครับ idea แปลกๆดีครับ อันนี้
ตามรูปหล่ะครับ เรียกว่าตอนไฟดับหรือแสงไฟน้อยก็ทำให้พอเห็นเลยหล่ะครับ พิมได้เลยครับ สำหรับคนพิมสัมผัสไม่ได้ครับ และที่แปลกอีกอย่างก็คือ Wifi on/off นี่ต่างกับชาวบ้านจริงๆครับ เท่าที่เห็นนะครับ ยี่ห้ออื่นก็จะเป็นปุ่มแยกออกไปหล่ะครับ แต่ IBM มาทำอย่างนี้มันคงแปลกๆหล่ะครับ เท่าที่เห็นก็สวยดีครับ มีเป็น interface สวยงามดีครับ ฮ่าๆ ซึ่งก็ปรับเป็นแค่ toggle ก็ได้ครับ ซึ่งก็แนะนำให้ทำด้วยครับ เพราะว่า interface ที่สวยงามมันก็มาพร้อมกับการทำให้มันช้า ลำบากขึ้นด้วยหล่ะครับ เวลาปิดเปิด wifi ฮ่าๆ
Fujitsu
เรามาดูกันที่ fujitsu ต่อครับ
สำหรับ fujitsu ก็มีความพิเศษเพิ่มหล่ะครับ โดยเพิ่ม application button ขึ้นมาหล่ะครับ สามารถตั้งได้เองครับ ว่าต้องการให้เป็น shortcut สำหรับโปรแกรมใดครับ ผมว่าเป็นการออกแบบที่ดีทีเดียวครับ ทำให้สะดวกขึ้นมากครับ สำหรับโปรแกรมที่ใช้บ่อยๆครับ
สำหรับปุ่ม Fn + ? ก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่นกว่าชาวบ้านเค้าหล่ะครับงานนี้.. แต่ที่ผมไม่รู้จริงๆคือ F4 ที่เป็นรูป mouse คืออะไรหล่ะครับ ..เรียกว่างงหล่ะครับ งานนี้..แหะๆ
Acer
ก็เหมือนๆกับ Fujitsu หล่ะครับ เพียงแค่จะมีน้อยกว่าครับ ก็ยังดีครับ ที่มี...
สำหรับ Acer ก็ปกติหล่ะครับ ไม่มีอะไรพิเศษครับ.. ที่เห็นน่าสนใจก็ Standy นี่หล่ะครับ แต่ผมกลับไม่ชอบ standby แฮะ ทำเป็น hibernate ยังจะดีกว่าครับ เหอๆ
Online Support
สิ่งสำคัญอีกอย่างนึงสำหรับ notebook นะครับ ผมว่ามันคือ driver ครับ.. เพราะว่า hardware ดีแค่ไหน? หากไร้ซึ่ง software ที่ compatible และใช้ hardware ได้อย่างเต็มที่มันก็ไร้ประโยชน์หล่ะครับ และด้วยความที่ driver ของ notebook มักจะแตกต่างออกไปจาก desktop ที่หาได้จากผู้ผลิต chip ต่างๆได้ง่ายหน่ะครับ สำหรับ notebook ที่พึ่งเดียวมักจะตกอยู่ที่บริษัทที่ทำ notebook ไม่ใช่บริษัทผลิต chip ต่างๆหล่ะครับทำให้ยี่ห้อมีความสำคัญในระดับนึงทีเดียวหล่ะครับ เลยพยายามรวบรวม web มาไว้ให้หากันง่ายๆหล่ะครับ
- • IBM - ถึงแม้ IBM จะโดน levono takeover ในส่วน computer ทั้งหมดไปแล้วก็จริงหน่ะครับ... แต่เรื่อง support นั้นยังมีประสิทธิภาพเหมือนๆเดิมครับ ยังมี driver ให้หากันตั้งแต่ OS/2,DOS, windows ทั้งหมดยัน Linux หล่ะครับ เรียกว่าทำได้ดีครับ แถม download manager ของเค้าผมไม่แน่ใจว่าดีหรือไม่ดีครับ เพราะว่าต้องลง Java runtime environment ไม่งั้นก็โหลดไม่ได้หล่ะครับ ฮ่าๆ แต่เรียกว่าการจัดการดีทีเดียวครับ ไม่ผิดหวังครับ เร็วเป็นระบบดีมากครับ พร้อมทั้งมี spec ให้ดูและยังสามารถตรวจสอบระยะประกันได้จาก web ด้วยครับ เจ๋งทีเดียวครับ
• Fujitsu - ในส่วน support ของ fujitsu นั้นหน้า download ก็ ok ครับ ถือว่าหาไม่ยากนัก แต่ driver นั้นโดยมากจะมีให้เพียงตระกูล microsoft หล่ะครับ ไม่มีของ OS อื่นหล่ะครับ แต่เรื่องรายละเอียด spec ละเอียดดีทีเดียวครับ นอกนั้นก็เป็นรอง IBM อยู่พอตัวเลยหล่ะครับ สงสัยเพราะว่ามีสัญลักษณ์ designed for Microsoft Windows XP ค้ำคออยู่มั้งครับ หึหึ
• Acer - สำหรับ acer มี global site และของไทยซึ่งแยกโดยอิสระหล่ะครับ เห็นแล้วไม่ได้เกี่ยวกันหล่ะครับ ส่วน driver ก็จะมีเพียง Win2k และ WinXP หล่ะครับ ส่วนถ้าเป็นของ Linux จะต้องเข้า global site หล่ะครับ แต่สำหรับ spec แล้วเรียกว่าทำได้แย่หล่ะครับ คงเพราะรุ่นเค้ามีมากไปส่วนใหญ่ในสายจะเป็น series หล่ะครับ ไม่ได้มีรุ่นเจาะจงหล่ะครับเลยทำให้ไม่สามารถตรวจสอบ spec จริงๆของเครื่องเราได้เลย..เหอๆ ไม่เข้าใจเหมือนกันครับตรงนี้
• Toshiba - ผมว่าของ Toshiba นี่หายากสุดหล่ะครับ สงสัยเพราะเค้ามีผลิตภัณฑ์ต่างกันมากเกินมั้งครับ.. ฮ่าๆ เลยแทนที่จะเขียน toshiba ใน firefox ก็พอกลายเป็นต้องใช้ google หาด้วยคำว่า toshiba notebook แทนหล่ะครับ ส่วน driver ก็จะมีตั้งแต่ Win98 หล่ะครับ ส่วน spec นี่ผมว่าของ toxhiba แย่สุดจริงๆครับ ไร้คำบรรยายครับ ^_^" ไม่มีรุ่นเก่าๆเลยหล่ะครับ รุ่นใหม่ทีมีผมว่าก็ไม่ได้ดีอะไร ไม่เป็นระเบียบเอาซะเลยครับ
สรุป
อืม..มันจะดูเหมือนผิดประเด็นไปจากเรื่อง "มาเลือก notebook กัน" หน่ะครับ ถ้าอ่านจนจบ แต่.. ที่อยากจะให้ได้จริงๆคือ อีกมุมมองนึงนอกจากสิ่งที่จะเป็นตัวเลือกกันอย่าง spec หน่ะครับเพราะว่าการเลือก notebook นั้นมันก็เหมือนๆเลือก Palm หรือมือถือหล่ะครับ สำคัญ อยู่ที่การใช้งาน และจริงๆแล้วสิ่งที่สำคัญจริงๆคือการออกแบบเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ใช่ว่าสวย แพงแล้วจะใช้ได้ดี ใช้ได้สะดวกหน่ะครับ เลยต้องหาตัวอย่างมาให้ดูแม้มันจะไม่หลากหลายอะไรแต่ก็ให้พอเป็น idea ในการเลือก notebook ดีๆซักตัวหน่ะครับ เพราะเครื่องนึงไม่ได้ถูกเล้ย การลงทุนทั้งที่ก็ต้องให้คุ้มค่าหน่อยครับ ถ้าอ่านๆไปแล้วอาจจะรู้สึกว่าเข้าข้าง IBM แต่ก็นั่นแหละครับ จริงๆผมก็ไม่ได้ใช้ IBM 55 แต่ด้วยความที่มันออกแบบมาดีจริงๆครับ (แหะๆ.. ซื้อไม่ไหวเพราะแพงไป) อย่าลืมตัวเลือกนี้ไปละกันครับ อ้อ.. หวังว่าคงจะได้ idea เพิ่มเติมในการเลือก notebook มากกว่าที่จะมองแค่ว่า อ้อ.. ตัวนี้ Pentium 2.4 GHz แหน่ะ เร็วแน่ๆ เลยย.. นะครับ ;p เพราะมุมมองไม่ได้มีแค่มุมเดียว อิอิ
note: สำหรับเรื่องประสิทธิภาพของ notebook มาดูกันต่อใน Notebook 2 ครับ